ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ดอกมะนาว

ดอกมะนาว
การปลูกมะนาวเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ปลูกส่วนใหญ่ หวังที่จะบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูจึงจะจำหน่ายผลมะนาวได้ในราคาสูง หากออกในฤดู (ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม) จะไม่ได้ราคา หากปล่อยให้มะนาวมีดอกในฤดูต่อไป ก็จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวพลาดที่จะทำมะนาวนอกฤดูในคราวถัดไป เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจึงจำเป็นที่จะต้องเอาดอกหรือลูกมะนาวที่ออกในฤดูออก โดยการปลิดเด็ดทิ้ง บ้างก็ใช้ฮอร์โมนพืชในปริมาณที่มากกว่าอัตราที่กำหนดเพื่อทำให้ดอกและผลหลุด ร่วง บ้างก็ทำให้ร่วงหล่นโดยการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ๆ (ยูเรีย) เพื่อให้มะนาวแตกใบอ่อนและสลัดดอกและลูก ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นก็ขึ้นอยู่ว่าเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจะถนัดทางไหน มากกว่ากัน

การบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูหลัก ๆ ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกที่นิยมทำกันมากคือการให้มะนาวอดน้ำ บ้างเรียกกักน้ำ แล้วแต่พื้นที่ โดยให้มะนาวอดน้ำจนใบเหี่ยว ม้วนงอ แล้วจึงให้น้ำ มะนาวจึงออกดอกติดผล ซึ่งการให้มะนาวอดน้ำนี้ข้อดีก็คือได้ดอกตามที่เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวต้องการ (ในกรณีที่ฝนฟ้าเป็นใจ) แต่ผลเสียที่จะตามมาก็คือทำให้ต้นมะนาวโทรม เพราะการอดน้ำนั้นเป็นการจำลองให้มะนาวรู้ว่าถ้าอดน้ำต่อไปเรื่อย ๆ ต้นจะตาย จึงจำเป็นที่จะต้องออกดอกติดผลเพื่อจะขยายพันธุ์ ซึ่งถ้าไม่ออกดอกจะต้องสูญพันธุ์ และผลเสียที่ตามมาติด ๆ ก็คือหากมีฝนฟ้ามืดครึ้ม ตกอยู่ตลอดเวลา หรือตกหลายวันติดต่อกัน อาจจะทำให้มะนาวดอกร่วงก่อน ถ้าติดผลผลก็อาจจะร่วง เพราะการทิ้งน้ำมะนาวเพื่อให้ออกดอก มะนาวนั้น ๆ จะไม่คุ้นเคยกับน้ำ หากได้น้ำมาก ก็จะดึงไนโตรเจนขึ้นไปมากกว่าธาตุอาหารอื่น ๆ จึงทำให้ลำเลียงไปเลี้ยงดอกเลี้ยงผลไม้ทัน ทำให้ผลร่วงหล่นได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น