ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

การตอนมะละกอ


ต้นมะละกอ เมื่ออายุหลายปีต้นก็จะสูง แต่ถ้าเป็นพันธุ์ดี ปล่อยให้ตายเสียก็น่าเสียดาย เราสามารถตอนลงมาปลูกให้เป็น้ต้นใหม่ได้ วิธีการตอนก็เหมือนกับการตอนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวโดยทั่วไป เช่นการตอนต้นไผ่ ต้นวาสนา ต้นหมากผู้หมากเมีย วิธีการก็ทำให้เกิดแผลที่ต้น แล้วใช้เศษหินหรือกิ่งไม้ใส่ปากแผลให้อ้าเผยอ แล้วหุ้มกิ่งตอนด้วยวัสดุหุ้มและวิธีการเดียวกัน กับการตอนกิ่งแบบควั่นกิ่ง การดูแลก็เหมือนกัน สำหรับการตอนมะละกอ ถ้าใช้วิธีการปาดกิ่งเข้าไป ¾ ส่วนของกิ่ง อาจทำให้กิ่งส่วนยอดหักโคน ก่อนออกรากได้ ถ้ามีลมแรง เราอาจใช้ไม้ไผ่ผ่าแบน ๆ เหล่าให้เรียบร้อยแล้ว ใช้ขวานตอกไม้ไผ่ให้ทะลุลำต้นก็ได้
วันนี้วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 สังเกตเห็นรากมะละงอกออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ไว้ออกรากเห็นชัดขึ้นแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูอีกครั้ง นับตั้งแต่วันตอนถึงวันนี้ 28 มกรา ประมาณ 20 วันพอดีถ่ายรูปรากที่โผล่อ
อกมาให้เห็นในวันที่ 21


วันนี้วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ถ่ายรู
ปมะละกอที่ออกรากมากพอที่จะตัดไปปลูกได้แล้วมาให้ดู สรุปแล้วการตอนมะละกอให้ออกรากเพื่อตัดไปปลูกได้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งรากใดๆ






รอจนลูกโต ๆ สุกหมดแล้วจึงตัดลงปลูก

ต้องใช้ไม้ค้ำช่วยพยุงลำต้นไม่ให้โค่น
ส่วนต้นแม่รอให้แตกแขนงเป็นกิ่งใหม่จถ่ายมาให้ดูอีกครั้ง

10 ความคิดเห็น:

  1. ตอนเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ไว้ออกรากเมื่อไรจะมา update อีกครั้ง

    ตอบลบ
  2. จริง ๆ แล้วมะละกอ ตอนให้ออกรากได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นต้นที่มีลูกดกมาก ๆ เวลาตอนกลัวกิ่งหักเสียก่อน แล้วจะถ่ายมาให้ดูอีกครั้งตอนตัดลงปลูก

    ตอบลบ
  3. การตอน ไม่ทำให้เพศมะละกอเปลี่ยน? เท่ากับว่าไม่มีความเสี่ยงในการได้กินลูกSure

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2554 เวลา 20:37

    ทำไมมะละกอที่ปลูกโคนต้นชอบเน่า หรือเมี่อมีผล ผลสุกมักจะเป็นจุด หรือ รา ปลูกไว้กินภายในครัวเรือน เป็นทุกต้น (จุด รา)ขอบคุณจะรอข้อคิดเห็นครับ

    ตอบลบ
  5. โรครากเน่า-โคนเน่า เกิดจากเชื้อพิเทียมและไฟท๊อปธอร่า
    เกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ ในระยะกล้าเกิดจากการเน่าคอดิน กล้ามะละกอที่เป็นโรคจะเกิดอาการใบเหลือง รากเน่า ต้นมักจะหักพับตรงโคน และเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว สำหรับต้นที่โตจะมีอาการเน่ารอบๆลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือดำลักษณะฉ่ำน้ำ รอยเน่าอาจขยายตัวขึ้นด้านบนของลำต้นหรือขยายลงส่วนรากทำให้รากเน่าด้วย ใบที่เกิดมาใหม่จะมีก้านใบสั้นกว่าปกติ ใบที่เจริญเต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็วกว่าปกติ โรคนี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ถ้าต้นมะละกอเป็นโรคนี้จะระบาดได้รวดเร็วไปทั้งสวน
    โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา
    โรคนี้จะเข้าทำลายทั้งผลและใบของมะละกอ
    อาการผลสุกจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพู ผลดิบอาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
    อาการบนใบ ใบมะละกอที่เป็นโรคจะเหี่ยวแห้งหล่นไป โรคนี้จะระบาดมากในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก และมีความชื้นสูง

    ตอบลบ
  6. โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา
    โรคนี้จะเข้าทำลายทั้งผลและใบของมะละกอ
    อาการผลสุกจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพู ผลดิบอาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
    อาการบนใบ ใบมะละกอที่เป็นโรคจะเหี่ยวแห้งหล่นไป โรคนี้จะระบาดมากในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก และมีความชื้นสูง

    ตอบลบ
  7. ไม่ระบุชื่อ25 ธันวาคม 2554 เวลา 06:54

    และจะมีวิธีการแก้ไขหรือรักษาอย่างไร หรือจะเริ่มต้นใหม่กับต้นกล้าอย่างไรผมใช้วิธีประหยัด โดยการเพาะเมล็ด ที่ซื้อผลมารัปทาน โดยเฉพาะดิน ส่วนผลิตภัณฑ์ ที่นำมาใช้ขอเป็นชื่อหรือยี่ห้อเลยครับ จะเป็นกรุณาอย่างยิ่ง ขอขอบคุณมากครับ ที่กรุณาให้ความรู้ดีๆกับผู้ที่ไม่ไช่เกษตรกรอย่างผมเพียงเพื่อไว้รัปทานเองในครัวเรือนครับ ขอบคุณอีกครั้ง......จาก ส.ว ครับ

    ตอบลบ
  8. การป้องกันกำจัด
    - ในสวนที่มีโรคนี้ระบาด ควรปลูกพืชอื่นทดแทน การปลูกซ้ำที่จะทำให้การระบาดของโรคมากขึ้น
    - พบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องถอนและเผาทิ้งทันที
    - เลือกพื้นที่ปลูกมะละกอที่ดินมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง
    http://watprodesktop.blogspot.com/2011/10/blog-post.html?showComment=1324782841466#c9149527194385157517

    ตอบลบ
  9. บล็อคมีประโยชน์มากค่ะ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณครับ ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเลยไม่ได้อัพเดท

      ลบ