ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2554

ไก่แจ้



ลักษณะทั่วไป
    
เป็นนกขนาดกลาง ลำตัวยาว 43 - 76 เซนติเมตร ในประเทศไทยมี 2 ชนิดย่อย คือไก่ป่าตุ้มหูขาวและไก่ป่าตุ้มหูแดง ไก่ป่าตุ้มหูขาวตัวผู้มีตุ้มหูสีขาว หน้าและหงอนขนาดใหญ่มีสีแดงสด หัว คอ ปีก และหลังมีสีเหลืองสลับแดง ท้องดำ หางสีดำเหลือบเขียว หางคู่กลางยื่นยาวกว่าหางเส้นอื่น ไก่ตัวเมียมีสีน้ำตาลเรียบ ๆ ออกเทา หางสั้นและมีหงอนเล็กมาก ส่วนไก่ป่าตุ้มหูแดงตัวผู้จะมีตุ้มหูสีแดง
      
ถิ่นอาศัย, อาหาร
     พบในเอเชียตอนใต้ ตั้งแต่เชิงเขาหิมาลัย ลงมายังปากีสถาน อินเดีย บังกลาเทศ พม่า ไทย อินโดจีน จีนตอนใต้ มาเลเซีย สุมาตรา ชวาและ บาหลี
     อาหารได้แก่ แมลง เมล็ดพืช ลูกไม้สุกและดอกหญ้า

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์
     อาศัยตามป่าไผ่ ป่าดิบแล้ง และป่ารอยต่อระหว่างป่าดิบแล้งและป่าเต็งรัง หากินเป็นกลุ่มเล็ก ๆ อยู่ตามพื้นป่า ตัวผู้ไม่ชอบร้องเหมือนตัวเมีย ในฝูงหนึ่งจะมีตัวผู้คุมตัวเมียหลายตัว ตัวผู้มักขันเป็นระยะ ๆ โดยเฉพาะในช่วงตอนเช้าและพลบค่ำ หากินเวลากลางวัน ตามพื้นดิน บินได้ไม่ไกลและไม่สูงมาก
     ไก่ป่าผสมพันธุ์ในฤดูร้อน สร้างรังอยู่ตามพื้นดินตามกอหญ้า กอไผ่ วางไข่ 6 - 12 ฟอง ระยะฟักไข่ 21 วัน ลูกไก่แรกเกิดมีขนอุยสีเหลืองสลับลายดำทั่วลำตัว เมื่อขนแห้งก็เดินตามแม่ไปหากินได้ทันที

สถานภาพปัจจุบัน
     เป็นนกประจำถิ่นที่พบบ่อย และปริมาณปานกลาง ไก่ป่าตุ้มหูขาวพบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คือเลียบชายแดนประเทศกัมพูชา ตั้งแต่จังหวัดตราด ไปจนถึงจังหวัดอุบลราชธานี ส่วนไก่ป่าตุ้มหูแดง พบทางด้านตะวันตก ตั้งแต่ภาคใต้ขึ้นมาเลียบชายแดนประเทศพม่า จรดภาคเหนือ และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535


เลี้ยงไว้ขันแทนนาฬิกาปลุกในตอนเช้า  ทุกวันจะขันรับดวงตะวัน ตรงเวลา โดยไม่ต้องตั้ง ขันเสียงไพเราะรับกันเป็นทอด ๆ เลี้ยงไว้ประดับสวนเพื่อความสวยงาม เป็นธรรมชาติ  ปล่อยให้ขุ้ยเขี่ยกองใบไม้ที่เปียกชึ้นกลับไปมาหาแมลง หนอน และปลวก กิน  ตกเย็นบินขึ้นเกาะคาคบไม้นอนกันเป็นกลุ่ม ๆ  นี่คือธรรมชาติของไก่แจ้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น