ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

มะยม










ชื่อท้องถิ่น









มะยม (ทั่วไป), ยม (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus acidus skeels
วงศ์
EUPHORBIACEAE
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 3 - 5 เมตร เปลือกมีผิวขรุขระ กิ่งก้านเปราะหักง่าย ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปรี ใบอ่อนสีเขียวเรื่อแดง ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ต้นเพศผู้ออกดอกแล้วไม่ค่อยติดผล ส่วนต้นเพศเมียออกดอกแล้วติดผลมาก ดอกขนาดเล็กจะออกเป็นช่อตามกิ่งไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงสีชมพู 4 กลีบ ผลรูปค่อนข้างกลม มี 5 - 6 พู ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองมีชนิดเปรี้ยวและหวานอมเปรี้ยว  

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ราก ผลแก่ ใบแก่ แก่น เปลือกต้น

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

วิตามินซี วิตามินบี 2 วิตามินบี 1 เบต้าแคโรทีน เหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม คาร์โบไฮเดรท โปรตีน พลังงาน

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้ผดผื่นคัน : ใช้ราก 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือด 5 - 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่น ใช้แช่อาบ ควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าว ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง
 ยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ : ใช้ผลแก่ ดองในน้ำเชื่อม (น้ำสะอาด 1 ลิตร ต่อน้ำตาลทราย 3 กิโลกรัม) ดองจนครบ 3 วัน ทยอยกินทั้งเนื้อและน้ำวันละ 1 ช้อนโต๊ะไปเรื่อย ๆ
     ปวดศรีษะจากความดันโลหิตสูง : ใบแก่ พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา เติมน้ำตาลกรวดพอหวาน ต้มให้เดือดนาน 5 - 10 นาที เมื่อดื่มแล้ววัดความดันควบคู่ไปด้วย ถ้าความดันกลับสู่ระดับปกติควรหยุดกิน
   ยาอดบุหรี่ : แก่น ชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น ต้มกับน้ำ 1 แก้ว นาน 5 นาที ดื่มให้หมด วันละ 1 แก้ว
    แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ : นำเปลือกสด ๆ ของลำต้น มาต้มรับประทาน

ข้อควรรู้และควรระวัง

รากมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยตำผสมกับอาหาร ถ้าคนกินจะเกิดอาการเมาและอาเจียนได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น