ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

ปาล์มหมากเขียว

หมากเขียว

ชื่อวิทยาศาสตร์: Ptychosperma macarthurii Nichols
ชื่อวงศ์: PALMAE
ชื่อสามัญ: MacArthur Palm
ชื่อท้องถิ่น: หมากฝรั่ง
ลักษณะวิสัย:
ไม้แตกกอ

ลักษณะ: เป็นพรรณไม้ปาล์มที่ลำต้นผอม และเป็นข้อปล้องตรง ลำต้นก็เกิดจากหน่อและสูงประมาณ 10-20 ฟุต มีสีน้ำตาลอมเขียวแต่เมื่อยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เป็นใบไม้ร่วมเช่นเดียวกับมะพร้าว ลักษณะของใบต้นหมากเขียวนี้เป็นใบขนนก ทางใบหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยอยู่ประมาณ 40 ใบ และใบย่อยยาว 10 -15 นิ้ว ทางใบยาว 4 ฟุต ตรงโคนก้านทางใบจะเป็นกาบห่อหุ้มเอาไว้ มีเนื้อใบอ่อนและสีเขียวเข้ม ส่วนด้านใต้ใบสีเขียวอ่อน ออกดอกเป็นช่อคล้าย จั่นหมาก ขนาดของดอกเล็กมีสีเหลืองอมเขียว หรือสีขาวนวล ผลเป็นลูกกลมๆเล็ก มีสีเขียวอ่อน แต่พอแก่จะกลายเป็นสีแดง สดผลๆหนึ่งจะมีเมล็ดอยู่ภายในเมล็ดหนึ่ง เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัดและจะเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด ต้องการน้ำปานกลาง และทนต่อทุกสภาพสิ่งแวดล้อม

การขยายพันธุ์: ด้วยการแยกหน่อหรือเพาะเมล็ดก็ได้ แต่ต้องใช้เวลานานถึง 2 เดือนเต็มๆ
ประโยชน์: ปลูกเป็นไม้ประดับ

ออกลูกเป็นพ่วงตอนเริ่มออกใหม่ ๆ ลูกเป็นสีเขียว แก่สีเหลือ พอสุกสีแดง นกชอบกินมาก พอลูกออกสีแดง ๆ นกจะมากินกันอย่างสนุกสนาน เสียงเจี้ยวจ้าวตั้งแต่เช่า ที่เห็นมากินก็มี นกเอี้ยงดำ เอี้ยงบ้าน นกขุนทอง กาเหว่า นกกะจาน ฯลฯ

ถั่วฝักยาวสีแดง

ถั่วฝักยาวสีแดง
เป็นถั่วฝักยาวที่พ่อให้ฝักมา 3 ฝัก นำมาห้อยร่มควันไว้จนแห้งดีแล้ว ได้นำไปทดลองปลูกหลุมละ 1 เมล็ด ขึ้นทุกต้น โดยจะปลูกรวมกับพืชชนิดอื่น ๆ ทำค้างให้ออกดอกและฝักยาวสวยดี จากการที่สังเกตไม่พบหนอน แมลง หรือเพลี้ยรบกวนเลย ฝักยาวสวยดี เก็บมากินกับน้ำพริกสด ๆ จะกรอบ เนื้อแน่นแข็ง อร่อยดี แล้วจะลองเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกในรุ่นต่อๆไป


วันนี้ถ่ายรูปอีกต้นมาให้ดู ปลูกค้างเดียวกับบวบเหลี่ยม ออกฝักมาติดกันจะเห็นว่าฝักยาวสวยทีเดียว รสชาติดีกรอบไม่เหนียวรับประทานสดได้

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

ต้นหางช้าง








กล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเห็นมาคือ หางช้าง จำได้ว่าสมัยเด็ก ๆ เวลาผู้ใหญ่เขาโคนต้นไม้ลงมาสักต้นก่อนที่เขาจะตัดเป็นท่อน ๆ เพื่อเลื่อยเป็นแผ่นกระดาน เขาจะต้องฟันเอาต้นหา

งช้างนี้แหละออกทิ้ง ซึ่งมันจะขึ้นเป็นงอใหญ่มาเกาะติดอยู่ตามกิ่งไม้ โดยไม่มีใครสนใจที่จะเอาไปปลูก ฟันทิ้ง แต่ปัจจุบันหายาก และพยายามหามาปลูกกัน ราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ ประกาศขายออนไลน์ต้นละเป็นหมื่น

การตอนมะละกอ


ต้นมะละกอ เมื่ออายุหลายปีต้นก็จะสูง แต่ถ้าเป็นพันธุ์ดี ปล่อยให้ตายเสียก็น่าเสียดาย เราสามารถตอนลงมาปลูกให้เป็น้ต้นใหม่ได้ วิธีการตอนก็เหมือนกับการตอนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวโดยทั่วไป เช่นการตอนต้นไผ่ ต้นวาสนา ต้นหมากผู้หมากเมีย วิธีการก็ทำให้เกิดแผลที่ต้น แล้วใช้เศษหินหรือกิ่งไม้ใส่ปากแผลให้อ้าเผยอ แล้วหุ้มกิ่งตอนด้วยวัสดุหุ้มและวิธีการเดียวกัน กับการตอนกิ่งแบบควั่นกิ่ง การดูแลก็เหมือนกัน สำหรับการตอนมะละกอ ถ้าใช้วิธีการปาดกิ่งเข้าไป ¾ ส่วนของกิ่ง อาจทำให้กิ่งส่วนยอดหักโคน ก่อนออกรากได้ ถ้ามีลมแรง เราอาจใช้ไม้ไผ่ผ่าแบน ๆ เหล่าให้เรียบร้อยแล้ว ใช้ขวานตอกไม้ไผ่ให้ทะลุลำต้นก็ได้
วันนี้วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 สังเกตเห็นรากมะละงอกออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ไว้ออกรากเห็นชัดขึ้นแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูอีกครั้ง นับตั้งแต่วันตอนถึงวันนี้ 28 มกรา ประมาณ 20 วันพอดีถ่ายรูปรากที่โผล่อ
อกมาให้เห็นในวันที่ 21


วันนี้วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ถ่ายรู
ปมะละกอที่ออกรากมากพอที่จะตัดไปปลูกได้แล้วมาให้ดู สรุปแล้วการตอนมะละกอให้ออกรากเพื่อตัดไปปลูกได้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งรากใดๆ






รอจนลูกโต ๆ สุกหมดแล้วจึงตัดลงปลูก

ต้องใช้ไม้ค้ำช่วยพยุงลำต้นไม่ให้โค่น
ส่วนต้นแม่รอให้แตกแขนงเป็นกิ่งใหม่จถ่ายมาให้ดูอีกครั้ง

ไม้ใช้สอย

ไม้ใช้สอย

เป็นไม้ที่เกิดขึ้นในที่ดินของเรา เป็นไม้โตเร็ว ให้ร่มเงาที่ปลูกง่าย โตเร็ว จะปลูกไว้ก่อน เพื่อความร่มรื่น เช่น ปีบ จะโตเร็วมาโดยไม่ต้องปลูก เดิมทีมีต้นปีบอยู่ก่อนแล้ว เป็นต้นใหญ่ ดอกดกมา ตอนเย็น ๆ จะหอมมาก เมื่อมีฝักแห้งร่วงตกหล่นจะงอกเป็นต้นใหม่ เราจะปล่อยเว้นไว้เป็นระยะ พอสวยงาม 1 ปีจะโตใช้งานได้ แต่จะรานเอากิ่งลงมา ตัดเป็นท่อนฟืน ทำเชื้อเพลิงได้โดยไม่ต้องไปตัดไม้ป่า หรือทำลายต้นไม้ในธรรมชาติ ต้นที่ถูกตัดรานก็จะออกกิ่งใหม่เป็นพุ่มสวยดี พอต้นไหนโตร่มพื้นที่ก็สามารถตัดมาใช้ใหม่ได้อีก นอกจากนั้นยังได้จากการตัดแต่งกิ่งต้นไม้อื่นเช่น ไม้ไผ่ ไม้มะม่วง ไม้มะขาม ทางมะพร้าว และอื่น ๆ จะเห็นได้ว่าถ้าทุกบ้านช่วยกันปลูกต้นไม้ไว้ในพื้นที่ของตนเองก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี

ดอกมะนาว

ดอกมะนาว
การปลูกมะนาวเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าผู้ปลูกส่วนใหญ่ หวังที่จะบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูจึงจะจำหน่ายผลมะนาวได้ในราคาสูง หากออกในฤดู (ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม) จะไม่ได้ราคา หากปล่อยให้มะนาวมีดอกในฤดูต่อไป ก็จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวพลาดที่จะทำมะนาวนอกฤดูในคราวถัดไป เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจึงจำเป็นที่จะต้องเอาดอกหรือลูกมะนาวที่ออกในฤดูออก โดยการปลิดเด็ดทิ้ง บ้างก็ใช้ฮอร์โมนพืชในปริมาณที่มากกว่าอัตราที่กำหนดเพื่อทำให้ดอกและผลหลุด ร่วง บ้างก็ทำให้ร่วงหล่นโดยการให้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง ๆ (ยูเรีย) เพื่อให้มะนาวแตกใบอ่อนและสลัดดอกและลูก ซึ่งจากที่กล่าวมาข้างต้นก็ขึ้นอยู่ว่าเกษตรกรผู้ปลูกมะนาวจะถนัดทางไหน มากกว่ากัน

การบังคับมะนาวให้ออกนอกฤดูหลัก ๆ ที่ทำกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีอยู่ 2 อย่าง อย่างแรกที่นิยมทำกันมากคือการให้มะนาวอดน้ำ บ้างเรียกกักน้ำ แล้วแต่พื้นที่ โดยให้มะนาวอดน้ำจนใบเหี่ยว ม้วนงอ แล้วจึงให้น้ำ มะนาวจึงออกดอกติดผล ซึ่งการให้มะนาวอดน้ำนี้ข้อดีก็คือได้ดอกตามที่เกษตรกรผู้ปลูกมะนาวต้องการ (ในกรณีที่ฝนฟ้าเป็นใจ) แต่ผลเสียที่จะตามมาก็คือทำให้ต้นมะนาวโทรม เพราะการอดน้ำนั้นเป็นการจำลองให้มะนาวรู้ว่าถ้าอดน้ำต่อไปเรื่อย ๆ ต้นจะตาย จึงจำเป็นที่จะต้องออกดอกติดผลเพื่อจะขยายพันธุ์ ซึ่งถ้าไม่ออกดอกจะต้องสูญพันธุ์ และผลเสียที่ตามมาติด ๆ ก็คือหากมีฝนฟ้ามืดครึ้ม ตกอยู่ตลอดเวลา หรือตกหลายวันติดต่อกัน อาจจะทำให้มะนาวดอกร่วงก่อน ถ้าติดผลผลก็อาจจะร่วง เพราะการทิ้งน้ำมะนาวเพื่อให้ออกดอก มะนาวนั้น ๆ จะไม่คุ้นเคยกับน้ำ หากได้น้ำมาก ก็จะดึงไนโตรเจนขึ้นไปมากกว่าธาตุอาหารอื่น ๆ จึงทำให้ลำเลียงไปเลี้ยงดอกเลี้ยงผลไม้ทัน ทำให้ผลร่วงหล่นได้ง่าย

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เป็นพืชผักที่อยู่ในตระกูล Cucurbitaceae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Luffa acutangula เป็นผักที่ใช้บริโภคส่วนของผล สามารถนำมาประกอบเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น ต้ม แกง ผัด หรือจิ้มน้ำพริก มีรสหวาน นอกจานี้บวบยังเป็นพืชที่มีลักษณะพิเศษ คือ ทนแล้ง ทนฝน โรคและแมลงไม่รบกวน
บวบเหลี่ยมเป็นพืชเถาเลื้อย อายุสั้น มีมือจับเกาะช่วยพยุงลำต้นบวบเหลี่ยมต่าเสื้องจากบวบชนิดอื่นตรง ที่ผลมีลักษณะเป็นเหลี่ยม หลายเหลี่ยม ดอกตัวผู้แลบูะดอกตัวเมียแยกกันอยู่ในต้นเดียวกันเช่นเดียวกับบวบหอม แต่มีลักษณะแตกต่างกันที่ใบเลี้ยงของต้นกล้า บวบเหลี่ยมมีสีเขียว ใบแก่มีสีเขียวอ่อนกว่าใบใหญ่กว่าเล็กน้อย ลอนบนใบตื้นกว่า ดอกจะบานในเวลาเย็น โดยบานตั้งแต่เวลา 17.30 น.เป็นต้นไป มีเหลี่ยมตามความยาวของผลตั้งแต่ขั้วจรดปลายผล ผิวผลค่อนข้างขรุขระ สีเขียวแก่ ดอกบวบเป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละดอก แต่เป็นต้นเดียวกัน
ดอกตับวบเหลี่ยมดอกจะบานตอนใกล้ค่ำทั้งดอกตัวผู้และดอกตัวเมีย อาศัยผีเสื้อกลางคืนเป็นตัวช่วยผสมเกสร

ไก่แจ้















ไก่แจ้เมืองเพชร

ป็นพ่อไก่ที่ตกค้างติดบ้านมานานหลายปี ตั้งแต่ก่อนหน้าไข้หวัดนกจะมาเยือน พอไข้หวัดนกมาเยือนการซื้อขายและการเลี้ยงลดลงจนเกือบหมด ที่เหลือติดบ้านอยู่ตัวที่เห็นก็แก่มากแล้ว แต่ยังสามารถทำหน้าที่บอกเวลาได้อยู่ นี่กะว่าจะผสมเอาลูกอีกสักครอก

ตัวผู้
- หน้า หงอน เหนียง ติ่งหู สีแดงสด ใบหงอนมีเม็ดทราย
หรือพื้นกำมะหยี่ ตามสีแดง หรือส้มปนแดง
- จงอยปากสีเหลือง หรือดำอมเหลือง
- ขนหัวเป็นสีส้มแดง ไล่เรื่อยไป
เป็นสร้อยคอสีส้มเหลืองสว่างสดใส
- ระย้า สีเดียวกับสร้อยคอ
- ขนหลังและหัวปีก เป็นสีส้มแดง
- ปีกทั้งสองข้างเป็นสีน้ำเงินอมม่วง
- สาบปีกเป็นสีน้ำตาลแดง
- ขนอก - ใต้ท้อง สีดำ
- ขนหางทั้งหมดเป็นสีดำ เหลือบ เขียวปีกแมลงทับ
- แข้ง นิ้ว เล็บ สีเหลือง หรือสีเขียวอมเทา

ตัวเมีย

- ขนทั้งตัวจะ เป็นสีครีมนวล
สร้อยคอเป็นสีน้ำตาลอมแดง หลัง - ปีก - โคนหาง
เป็นสีนวล อมน้ำตาล หางดำอมน้ำตาลเล็กน้อย

กุยช่าย: Allium tuberosum Rottl. ex Spreng.,















กุยช่าย ชื่อวิทยาศาสตร์: Allium tuberosum Rottl. ex Spreng.,

ชื่อวงศ์ :LILIACEAE (ALLIACEAE)


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุก สูง 30-45 ซม. มีเหง้าเล็กและแตกกอ ใบแบน เรียงสลับ รูปขอบขนาน ยาว 30-40 ซม. โคนเป็นกาบบางซ้อนสลับกัน ช่อดอกแบบซี่ร่ม ก้านช่อดอกกลมตันยาว 40-45 ซม. โดยปรกติจะยาวกว่าใบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ออกในระดับเดียวกันที่ปลายก้านช่อดอก ก้านดอกยาวเท่ากัน มีใบประดับหุ้มช่อดอก เมื่อดอกเจริญขึ้นจะแตกออกเป็นริ้วสีขาว กลีบดอก 6 กลีบ สีขาว ยาวประมาณ 5 มม. โคนติดกัน ปลายแยก กลางกลีบดอกด้านนอกมีสันหรือเส้นสีเขียวอ่อนจากโคนกลีบไปหาปลาย ดอกบานกว้างประมาณ 1 ซม. เกสรเพศผู้ 6 อัน อยู่ตรงข้ามกับกลีบดอก เกสรเพศเมีย 1 อัน รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ผลกลม กว้างยาวประมาณ 4 มม. ภายในมี 3 ช่อง มีผนังกั้นตื้นๆ เมื่อแก่แตกตามตะเข็บ มีเมล็ดช่องละ 1-2 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแบน ขรุขระ

การกระจายพันธุ์ : เอเชียตะวันออกแถบภูเขาหิมาลัย อินเดีย จีน และญี่ปุ่น ในไต้หวันมีปลูก 2 พันธุ์ คือ พันธุ์สีเขียวที่ปลูกทั่วไป และพันธุ์ใบใหญ่สีขาวซึ่งเกิดจากการบังร่ม

การใช้ประโยชน์ ทางอาหาร: ดอก ผักกับตับหมู ใบรับประทานสดกับลาบ หรือผัดไทยก็ได้ ทางยา: ใบ มีฟอสฟอรัสสูง เป็นยาแก้หวัด บำรุงกระดูก แก้ลมพิษ ทาท้องเด็กแก้ท้องอืด

มะเขือพวง Solanum torvum Sw.
















มะเขือพวง Solanum torvum Sw.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ซื่อสามัญ
Plate brush egg plant

ชื่อท้องถิ่น
มะเขือละคร หมากแค้ง มะแคว้งกูลัว มะแคว้งกูลา
มะแว้ง มะแว้งช้าง รับจงกลมปอลอ ปอลือ เขือข้อย เขือพวง
ลูกแว้ง แว้งช้าง เขือเทศ ตะโกงลาโน จะเคาะค่ะ หมากแข้ง มะแขว้ง มะแข้งคม มะเขือป้าว (ภาคเหนือ) มะเขือฝรั่ง (กรุงเทพฯ)
มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน (ภาคกลาง) สะกอวา ยั่งมูไล่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเขือพวง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Solanum torvum Sw. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE ซึ่งเป็นวงศ์ของพืชพวกพริกและมะเขือ
ต่าง ๆ นั่นเอง มะเขือพวงมีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่น ๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือน
มะเขือ
ชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูงถึงกว่า 1 เมตร ขึ้นไปถึง 2 เมตร
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ

การปลูกพืชให้ประสบผลสำเร็จสูงและลดค่าใช้จ่ายได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง นับจากเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และถ้าจะให้ดี เกษตรกรควรเริ่มต้นจากการหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี แล้วนำมาเพาะกล้า
การเพาะกล้าให้ต้นแข็งแรงและให้ผลผลิตสูง การเพาะกล้าพืชที่ถูกต้อง มีขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพที่ดี คือ ทนต่อโรคและแมลง, เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง รวมทั้งดูวัน เดือน ปี ที่ผลิตว่ายังไม่หมดอายุ
2. ถ้าเมล็ดพืชที่เพาะมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ควรกระเทาะหรือลอกเปลือกออก วิธีการนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นกว่าการเพาะเมล็ดทั้งเปลือก พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก เช่น มะม่วง
3. การแช่น้ำเมล็ดพืชจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง จึงช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วชึ้น วิธีการคือ นำมาแช่ในน้ำหรือน้ำอุ่น (ใช้น้ำร้อนผสมน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1) แช่นาน 30 นาที และปล่อยจนน้ำเย็น แช่ทิ้งไว้นาน 10-12 ชม. จึงนำมาห่อผ้าเปียกไว้ รดน้ำ 2-3 วันพอเริ่มมีงอกขาวๆๆปริๆๆออกมา นำไปเพาะลงในถาดเพาะกล้าหรือถุงเพาะกล้า พืชที่นิยมแช่น้ำเมล็ด เช่น พริก มะเขือ
4. การเตรียมวัสดุเพาะกล้าพืช ทำได้โดยการผสมดินร่วน : ปุ๋ยคอกละเอียดและเก่า : ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 เมื่อผสมวัสดุเพาะกล้าแล้วนำกรอกลงในภาชนะ เช่น ถาดเพาะ กระถาง ถุงพลาสติก ฯลฯ โดยใส่วัสดุเพาะกล้าลงในภาชนะประมาณ 2 ใน 3 ของความสูงของภาชนะบรรจุ ไม่ควรใส่ให้สูงล้นเต็มภาชนะ เพราะเวลารดน้ำจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไหลหลุดติดไปกับน้ำที่ใช้รด
5. เกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ และทำเป็นหลุมหรือร่องเล็ก ๆ ตามขนาดความยาวของภาชนะ ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 3 ซม. ลึกประมาณ 0.5-1 ซม.
6. โรยเมล็ดพันธุ์ลงไป ถ้าเป็นหลุมปลูก ควรหยอดเมล็ด 2-3 เมล็ด/ หลุม ถ้าโรยเป็นแถว ควรโรยบาง ๆ และกลบวัสดุปลูกทับเมล็ดพันธุ์ผักที่โรยไว้
7. ควรหว่านปูนขาวบาง ๆ ลงบนผิวของวัสดุปลูก เพื่อป้องกันมดหรือแมลงเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์
8. ควรวางภาชนะเพาะกล้าในที่ร่มรำไร และรดน้ำทุก ๆ วัน ละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
9. เมื่อเมล็ดเริ่มมีใบจริง ควรวางภาชนะเพาะกล้าให้ได้รับแสงสว่างในช่วงครึ่งวันเช้า หรือใช้วัสดุพรางแสงกั้นบนภาชนะที่ใช้เพาะกล้า เพื่อให้กล้าผักเริ่มปรับตัวแข็งแรงขึ้น และไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพการย้ายปลูกต่อไป
10. เมื่อกล้าที่เพาะโตและแข็งแรงแล้ว ควรทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก
11. ใสปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก รองก้นหลุมก่อนปลูก เพื่อช่วยปรับสภาพดิน


ไผ่ตงเขียว
















ไผ่ตง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Dendrocalamus asper Backer อยู่ในวงศ์ Gramineae สกุล Dendrocalamus Nees ไผ่ตงเป็นไม้ที่ให้ประโยชน์ ทั้งในแง่ของอาหาร และการใช้ประโยชน์ ด้านอื่นๆ โดยรสชาติ และคุณสมบัติ เฉพาะด้านของ ไผ่ตงทำให้ผู้บริโภค นิยมรับประทาน
ไผ่ตงเขียวนี้จะมีขนาดลำต้นเล็กและสั้นกว่าไผ่ตงดำ มีเส้นผ่าศูนย์กลางลำต้น 5-12 เซนติเมตร สีของลำต้น จะเป็นสีเขียว เนื้อไม้บาง ไม่ค่อยแข็งแรง ใบมีขนาดปานกลาง บางและสีเขียวเข้ม จับแล้วไม่สากมือ หน่อมีน้ำหนัก 1-4 กิโลกรัม หน่อไม้ไผ่ตงชนิดนี้จะมีรสหวานอมขื่นเล็กน้อย เนื้อเป็นสีขาวอมเหลือง ไผ่ตงเขียวมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี นอก จากนี้แล้วไผ่ตงเขียวยังมีความคงทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงมีผู้นิยมปลูกกันมากไม่แพ้ไผ่ตงดำ

การขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งแขนง

กิ่งแขนงคือ กิ่งที่แยกออกจากลำต้นไผ่ตรงบริเวณข้อ ซึ่งโคนกิ่งแขนงจะมีรากงอกเห็นได้เด่นชัด การใช้กิ่งแขนงขยายพันธุ์เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเพราะสะดวกและง่าย โดยมีการคัดเลือกดังนี้
      - ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1 1/2 นิ้ว
      - ให้เลือกรากของกิ่งแขนงที่มีสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลืองและมีรากฝอยแตกจากรากแขนงแล้ว
      - ให้เลือกกิ่งแขนงที่ใบยอดคลี่แล้ว และกาบหุ้มตาหลุดหมดแล้วเช่นกัน
      - ให้เลือกกิ่งแขนงที่มีอายุ 4-6 เดือน ถ้าเป็นกิ่งค้างปียิ่งดี
ขั้นตอนในการปักชำกิ่งแขนง
เมื่อได้คัดเลือกกิ่งแขนงแล้ว ทำการตัดแยกกิ่งแขนงออกจากลำไผ่ จากนั้นตัดปลายกิ่งออกให้เหลือยาว 80-100 เซนติเมตร การปักชำควรจะทำในปลายฤดูฝนหรือในราวเดือนกันยายน-ตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก โดยปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
      - เตรียมแปลงเพาะชำโดยการไถพรวนดิน แล้วควรตากดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้นทำการย่อยดินและปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอในกรณีที่พื้นที่เป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึง และถ้าเป็นที่ลุ่มควรทำการยกร่องเพื่อให้มีการระบายน้ำได้ดี
      - ขุดร่องให้เป็นแนวเหนือ-ใต้ และขุดให้ลึกประมาณ 15 เซนติเมตร แต่ละร่องห่างกันประมาณ 30 เซนติเมตร เพื่อให้กิ่งแขนงได้รับแสงแดดทั่วถึงกันทุก ๆ ด้าน
      - นำกิ่งแขนงปักชำลงในร่องให้ห่างกันประมาณ 15-20 เซนติเมตร กลบดินแล้วใช้เท้าเหยียบให้แน่น รดน้ำทันที หลังจากชำเสร็จแล้วทำหลังคาด้วยทางมะพร้าวเพื่อบังแดด หมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน
      - หลังจากปักชำแล้วประมาณ 6-8 เดือน กิ่งแขนงที่ชำไว้จะแตกแขนงใบและรากที่แข็งแรงพร้อมที่จะย้ายลงปลูกในแปลงได้ การปักชำกิ่งแขนงอาจดำเนินการเพาะชำในถุงพลาสติกสีดำขนาด 8x10 นิ้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดีเช่นกัน
ถ้ามีการขนย้ายกล้าในระยะทางไกล ๆ ควรย้ายกล้าลงชำในถุงพลาสติกทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นกล้ากิ่งแขนงที่ชำไว้แตกแขนง ใบ และราก ตั้งตัวได้และมีความแข็งแรง
คัดจากhttp://www.doae.go.th/library/html/detail/paitong/topic4.htm




สะเดามันทวาย


สะเดามันทวาย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton

ชื่อสามัญ : Siamese neem tree, Nim , Margosa, Quinine

วงศ์ : Meliaceae

ชื่ออื่น : สะเลียม (ภาคเหนือ) กะเดา

(ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ต้น สูง 5-10 เมตร เปลือกต้นแตกเป็นร่องลึกตามยาว ยอดอ่อนสีน้ำตาลแดง ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับรูปใบหอก กว้าง 3-4 ซม. ยาว 4-8 ซม. โคนใบมนไม่เท่ากัน ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อย แผ่นใบเรียบ สีเขียวเป็นมัน ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งขณะแตกใบอ่อน ดอกสีขาวนวล กลีบเลี้ยงมี 5 แฉก โคนติดกัน กลีบดอกโคนติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก ผล รูปทรงรี ขนาด 0.8 - 1 ซม. ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว สุกเป็นสีเหลืองส้ม เมล็ดเดี่ยว รูปรี

ส่วนที่ใช้ : ดอกช่อดอก ขนอ่อน ยอด เปลือก ก้านใบ กระพี้ ยาง แก่น ราก ใบ ผล ต้น เปลือกราก น้ำมันจากเมล็ด



วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

มะรุม(Drumstrick Tree)

มะรุม

มะรุมต้นนี้ได้พันธุ์มาจากอำเภอบ้านลาด วันนั้นปานช่วยงานทำบุญเลี้ยงพระ แล้วเที่ยวในหมู่บ้าน พบต้นมะรุมต้นหนึ่ง เห็นแล้วต้องขอพันธุ์ไปปลูก เนื่องจากเป็นมะรุมที่มีฝักใหญ่และยาวมาก กว่าที่เคยเห็นมา เจ้าของใจดีให้ฝักมาเพาะ วันนั้นได้รับแบ่งปันมาหลายคน ไม่ได้สอบถามว่าแต่ละคนมีเหลือคนละกี่ต้น ที่บ้านเหลือรอดต้นเดียว ให้ฟักเป็นปีแรก ฝักไม่ยาวเท่าต้นแม่ แต่เนื้อเยอะแกงกินอร่อยดี วันนี้เอารูปฝักที่พร้อมแกงมาให้ดู วันหลังจะมาลงวิธีแกงมะรุมให้อ่านกัน

ชื่อสามัญ : Hoseradish tree,Drumstick tree, Ben oil tree,Also call “mother’s best friend”

ชื่อพื้นเมือง : มะรุม(ภาคกลาง)ผักอีฮึม ผักอีฮุม(อีสาน) มะค้อนก้อม(เหนือ) กาแน้งเดิง(กะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (แม่ฮ่องสอนบางพื้นที่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa olifera Lamk.
วงศ์ : MORINGACEAE

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดกลมโปร่ง เจริญเติบโตเร็ว อาจเติบโตจนมีความสูงถึง 8 เมตร และ ออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก

ใบเป็นใบประกอบแบบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ก้านใบยาว 20-40 เซนติเมตร ออกเรียงสลับ ใบย่อย ยาว 1-3 เซนติเมตร ใบรูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีออ่นกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อนมีรสหวานมัน

ดอกมะรุมออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขมเฝื่อนนิดๆ แต่เมื่อนำมาผ่านความร้อนจนสุกจะออกรสหวาน มันเล็กน้อย

ผล เป็นฝักยาว เปลือกของฝักมีสีเขียว มีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะๆ ตามความยาวของฝัก ฝักยาว 20-50 เซนติเมตร มีรสหวาน

เมล็ด เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางๆ หุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 เซนติเมตร รสขมเฝื่อนนิดๆ ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการผ่านความร้อนจนสุก

มะม่วงอกร่องพิกุลทอง















มะม่วงอกร่องพิกุลทองชื่อท้องถิ่น:มะม่วงอกร่องพิกุลทอง
ชื่อสามัญ: Mango, Mango tree
ชื่อวิทยาศาสตร์: Manaifera indica Linn.
ชื่อวงศ์:Anacardiaceae
ลักษณะพืช:ไม้พุ่มยืนต้น สูงประมาณ 10 - 15 ม. ลำต้นตรง เรือนยอดกลม ทึบ ใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนกิ่งแบบเวียน ใบรูปหอกยาวแกมขอบขนาน ปลายเรียวแหลม โคนมนแหลม ออกดอกเดือนธันวาคม ถึง มกราคม ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ในช่อดอกหนึ่งๆ จะมีช่อย่อยหลายช่อ ดอกย่อยขนาดเล็กสีเหลืองอ่อน ก้านดอกสั้น ผลสุกเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน และมีพันธุ์ทวายซึ่งออกนอกฤดูกาล ผลเป็นแบบผลสด รูปทรง ขนาด และสีผิวแล้วแต่ชนิดพันธุ์นั้นๆ บริโภคได้ทั้งผลดิบและผลสุก รสเปรี้ยว มัน และหวาน มะม่วงในประเทศไทยโดยเฉพาะที่ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่ง มก. วิทยาเขตกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีอยู่หลากหลายพันธุ์

เป็นพันธุ์มะม่วงที่เก่าแก่รู้จักกันทั่วไป ใช้สำหรับรับประทานสุกกับข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่ให้ผลดก จะออกผลปีเว้นปี คือปีใดที่ให้ผลดก ปีต่อไปจะมีผลน้อย ขนาดผลค่อนข้างเล็ก ลักษณะของผลค่อนข้างแบน ตรงส่วนท้องเป็นทางยาวจนเห็นได้ชัด ผลดิบเนื้อละเอียดสีขาวนวล มีเสี้ยนน้อย รสเปรี้ยวจัดจนกระทั่งแก่ เมื่อสุกผิวของเปลือกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอม เนื้อสีเหลืองละเอียด รสหวานจัด เมล็ดมีลักษณะยาวแบน













เป็นมะม่วงอีกพันธุ์หนึ่งที่น่าปลูกเนื่องจากออกผลตลอดทั้งปี  หลังจากเก็บผลแล้วให้ใส่ปุ๋ยคอก รดน้ำให้ชุ่มก็จะแตกใบอ่อน  หลังจากใบอ่อนเริ่มแก่ก็จะแทงช่อดอกอีกครั้งก่อนถึงฤดูออกผลจริงโดยไม่ต้องใช้สารเร่งใด ๆ ทั้งสิ้น

ยอดใหม่

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

ส้มแป้น








ส้มแป้นเป็นพืชตระกูลส้ม มีลักษณะคล้ายส้มเขียวหวาน ผลมีลักษณะแป้นแบน รสเปรี้ยว แต่ถ้าปล่อยไว้ให้สุกคาต้นเรียกว่าสุกจนงอม จะกินอร่อยเพราะมีน้ำมาก รสออกเปรี้ยวๆหวาน ๆ ไม่พบปลูกเป็นเชิงการค้า ต้นนี้ปลูกด้วยเมล็ด ออกดอกติดผลมาสองปีแล้ว จุดประสงค์การปลูกไม่ได้ต้องการผลเท่าใดนัก ผลที่ได้เป็นผลพลอยได้  แต่ที่ปลูกไว้หลักจริง ๆ คือใบ หรือยอดอ่อน  ใช้ทำผักใส่แกงแทนผัก ใบมีกลิ่นหอม รสเพ็ด  ใส่แกงได้หลายอย่างแล้วแต่จะหาได้ เช่น แกงปลาดุกใส่ใบส้มแป้น มื้อนั้นกินข้าวอาบเหงือเลยทีเดียว แกงใบแป้นจะต้องเผ็ด  หมูป่า ปลาไหล แกงไก่เบตง  หอยเก้ง ไม่ต้องมีกับข้าวอย่างอื่น ข้าวกับแกงสองอย่าง ที่เหลือก็หาผักมาช่วยลดความเผ็ด เช่น ยอดมันปู ยอดเหม็ดชุน ยอดกะถิน ลูกเล็บรอก ลองไปหารับประทานดูนะครับ

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

ต้นมันปู

ต้นมันปู ต้นที่เห็นเป็นต้นเล็กที่เกิดจากการตัดกิ่งปักลงไว้ข้าง ๆ ต้นกล้วย สามารถออกรากและเติบโตไ้ด้อย่างที่เห็นโดยไม่ต้องตอน มันปูเป็นพืชยืนต้นที่ใช้ใบเป็นผัก กินสดโดยเฉพาะอย่างยิงกินกับขนมจีนจะอร่อยมาก

ต้นมันปู
ลักษณะ
เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15 เมตร ใบเรียวรูปไข่ ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 3 - 5 เซนติเมตร โดนใบมน ปลายใบแหลม ใบอ่อนมีสีแดง ออกดอกเป็นกลุ่มแต่ละดอกมีขนาดเล็ก
การขยายพันธุ์
การเพาะเมล็ด, การกิ่งตอน
การปลูก
ไถพรวนปรับพื้นที่ให้เรียบเก็บเศษไม้และวัชพืชออก แล้วปักหลักกำหนดระยะปลูก 4 x 4 เมตร ขนาดของหลุมปลูกที่เหมาะสม คือ 25 x 25 x 25 เซนติเมตร หลักจากขุดหลุมปลูกแล้วตากดินประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน จึงใส่ปุ๋ยร๊อคฟอสเฟตรองก้นหลุมอัตรา 150 - 200 กรัมต่อหลุม หรือครึ่งกระป๋องนม นำกล้าที่เตรียมไว้ย้ายลงปลูก ควรปลุกในต้นฤดูฝน วางกล้าลงตรงกลางหลุม กลบดินและกดรอบๆ โคนต้นให้แน่น ในปีแรกจำเป็นต้องเอาใจใส่กำจัดวัชพืชออกบ้าง เพื่อไม่ให้วัชพืชคลุมเบียดบังแย่งแสงและอาหารจากต้นมันปู เมื่อกล้าที่ปลูกตั้งตัวได้แล้ว ควรเร่งการเจริญเติบโตด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ประมาณ 10 - 20 กรัม/หลุม โดยการพรวนดินรอบโคนต้นแล้วโรยปุ๋ยตาม เมื่อต้นมันปูมีอายุประมาณ 1 ปี ใส่ปุ๋ยสูตร 15 - 15 - 15 ผสมกับปุ๋ยยูเรีย (46 - 0 - 0) ให้น้ำวันละครั้ง การตัดแต่งควรตัดแต่งให้ต้นมันปูสูงประมาณ 1.5 เมตร เพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว

ต้นชะมวง



ต้นชะมวง
ชื่อท้องถิ่น:ต้นชะมวง
ชื่อสามัญ:-
ชื่อวิทยาศาสตร์: (Garcinia cowa Roxb)
ชื่อวงศ์: GUTTTIFERACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:ใบชะมวงจากต้นชะมวง หรือที่ทางปักษ์ใต้เราเรียกว่า ต้นส้มมวง ถือเป็นไม้ไทยใกล้มือที่คนท้องถิ่นแถบภาคตะวันออกแถวเมืองจันทร์ไปจนถึงตราดและแถวปักษ์ใต้บ้านเรา นิยมเก็บยอดและใบอ่อนมาปรุงอาหารประเภทต้มส้ม แกงส้ม โดยต้มกับกระดูกหมู กระดูกวัว หรือซี่โครงหมู ที่เรียกกันว่า ซี่โครงหมูต้มใบชะมวง สำหรับที่เป็นอาหารขึ้นโต๊ะในเมนูอาหารรสเด็ดที่รู้จักกันดีก็คือ แกงกะทิใบชะมวง ทั้งนี้ก็เพราะจะได้ รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม
ต้นชะมวงหรือต้นส้มมวงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า การ์ซิเนีย โคว่า (Garcinia cowa Roxb) ลักษณะของต้นชะมวงและต้นมะดันมีความคล้ายกัน เพราะต้นไม้ 2 ชนิดนี้ มีรากเหง้าเหล่ากออยู่ในวงศ์กัททิฟเฟอราซี้ (Guttifferacae) เหมือนกัน แต่ถ้าหากเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นว่า ส้มมวงหรือต้นชะมวง มีรูปทรงใบ ข้อ และผล ที่มีรสเปรี้ยวเหมือนกับมะดันก็จริง แต่ต้นมะดันจะมีลำต้นค่อนข้างเตี้ย ไม่ใหญ่โต ชอบขึ้นตามดินจืดทั่วไป ส่วนต้นชะมวงจะมีลำต้นค่อนข้างใหญ่โต ต้นสูง ชอบขึ้นตามดินน้ำเค็มถึงดินกร่อยชายทะเล

ลักษณะโดยทั่วไปของต้นชะมวงหรือต้นส้มมวง จัดเป็นไม้ป่าประเภทยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นโตขนาด คนพอโอบโคนต้นมิด ส่วนใหญ่ลำต้นจะเปราค่อนข้างตรงและสูงชะลูด เปลือกต้นมีลักษณะแข็งผิวสีน้ำตาลไหม้ปนเทา กระพี้มีสีเหลือง มีเสี้ยนยาวละเอียด ค่อนข้างเหนียว ทนทาน แก่นสีน้ำตาลไหม้ แข็งเหนียว ถ้าถากเปลือกออกมาจะ มีกลิ่นเปรี้ยวอ่อนๆ โชยออกมา ค่ะ ใบของต้นส้มมวงเป็นใบเดี่ยว ออกสลับคล้ายกับใบมะดัน รูปทรงใบหอกรียาว โคนและปลายแหลม ยาวประมาณ 10-15 ซม. ใบหนาค่อนข้างแข็งเป็นมัน ส่วนยอดอ่อนจะมีสีน้ำตาลแดง ใต้ใบจะมีสีนวลจางกว่า สำหรับลักษณะดอก ดอกจะมีขนาดเล็ก กลีบดอกค่อนข้างแข็ง มีสีเหลืองอ่อน ซึ่งเมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอมระรวย และเมื่อดอกได้รับการผสม จะกลายเป็นผล ผลของต้นส้มมวง มีลักษณะกลมมองดูคล้ายลูกมังคุด เนื้อผลมีสีขาวค่อนข้างเปรี้ยว ภายในมีเมล็ดค่อนข้างแข็งแยกออก 2 ซีก เมล็ดนี้สามารถเจริญไปเป็นต้นได้ บางคนจะเก็บเอาลูกชะมวงมาหั่นตากแดดให้แห้งเพื่อเก็บเอาไว้ใส่แกงส้ม

พริกที่โคนกล้วย

เกษตรใบไม้: บทที่ 1 แนะนำผลผลิตที่เกิดจากใบไม้

เกษตรใบไม้: บทที่ 1 แนะนำผลผลิตที่เกิดจากใบไม้

กระเทียมเถา

ชื่อวิทยาศาสร์ Pachyptera hymenaea., A. Gentry.ตระกูล BIGNONIACEAEชื่อสามัญ Garlic Vine.
ต้น กระเทียมเถาเป็นไม้เถาเลื้อยเนื้อแข็ง ขนาดกลาง มีลำต้นเป็นเถาใหญ่ แข็งแรง สามารถเลื้อยไป ได้ไกลมากกว่า 10 เมตร เถาอ่อนและส่วนยอดจะเป็นสีเขียว ส่วนเถาแก่จะเป็นสีน้ำตาล ผิวเรียบเกี้ยง
ใบ มีใบประเภทใบประกอบ มีใบย่อย 1 คู่ ออกตรงข้ามกันตามข้อต้น เป็นไม้ใบบางแต่แข็งกระด้าง รูป ใบรีหรือมน หรือใบรูปไข่ขอบใบเรียบปลายใบและโคนใบแหลมก้านใบสั้นมีมือเกาะอยู่ระหว่างใบ ย่อยแต่ละคู่ในขณะที่ใบยังอ่อน ใบจะมีกลิ่นคล้ายกับกลิ่นกระเทียม ดอก ออกดอกเป็นช่อตามข้อต้น หรือตามโคนกาบใบ ช่อหนึ่งจะมีประมาณ 10-20 ดอก ดอกสีม่วงอ่อน ตรง ปากดอกหรือกลางดอกสีค่อนข้างขาวมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ โคนกลีบเชื่อมติดกันเล็กน้อย ลักษณะดอก จะเป็นรูปกรวยปากบาน หรือรูปแตร มีกลีบดอกแยกออกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกบานใหม่ ๆ จะเป็นสี ขาว แล้วจะกลายเป็นสีชมพูและสีม่วง เมื่อแก่จัด มีเกสรตัวผู้ภายในดอก 4 อัน สั้น 2 อัน และยาวอีก 2 อัน ในช่วงที่ออกดอก กระเทียมเถาจะทิ้งใบหมด
ปลูกไว้เป็นไม้ประดับ ปล่อยให้ขึ้นไปบนต้นไม้ต้นปีบ ขยายใหญ่ตามธรรมชาติ ออกดอกพร้อมกับดอกปีบสลับกันสวยดี ดอกบานประมาณ 2 วัน ก็เหี่ยว แต่จะมีชุดใหม่ทยอยออกมาให้เห็นบ่อย ๆ ถ้าน้ำถึง

วันเสาร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554

ต้นกล้ามะขวิด



ต้นกล้ามะขวิด เพาะไว้เพื่อใช้ทำเป็นต้นตอเสียบกิ่งมะนาว
(ไว้โอกาสต่อไปจะมาเสนอวิธีการเสียบกิ่งมะนาวบนต่อมะขวิด)
มะขวิด
ชื่ออื่นๆ : Wood apple, Elephant's Apple
ชื่อพฤกษศาสตร์: Feronialimonia Swing
วงศ์: RUTACEAEรมะขวิดเป็นไม้ต้น สูง 6-10 เมตรใบ เรียงเวียนสลับ ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย 5-7 ใบ หรือ 9 ใบ รูปขอบขนานแกมไข่กลับ เนื้อใบมีต่อมน้ำมันกระจายที่ขอบใบดอกช่อ ออกที่ปลายกิ่ง หรือที่ซอกใบ กลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว เจือด้วยสีแดงผล รูปทรงกลม เมื่อสุก สีเทาแกมน้ำตาล เนื้อในกินได้ สุกเดือนตุลาคม- ธันวาคมการขยายพันธุ์ เพาะเมล็ดประโยชน์ ใบแก้ท้องเสีย แก้ตกเลือด พอกหรือทาแก้ฟกบวม รักษาฝีและโรคผิวหนังบางชนิดถิ่นกำเนิด ในอินเดีย

มะนาวบนตอมะขวิด

ทดลองเสียบกิ่งมะนาวบนต้นตอมะขวิดปลูกดูพบว่าการเจริญเติบโตดีพอสมควรต้นที่เห็นอายุประมาณ 2 เดือน
พันธุ์มะนาวที่ใช้เป็นมะนาวพันธุ์พิจิตร 1


(จะนำขั้นตอนการเสียบกิ่งมะนาวบนต้นตอมะขวิดเสนอที่
นี่)



















รอดูผลอีกประมาณ 15 วัน

ผ่านไปแค่  7 วัน ก้านใบหลุดร่วง แล้งแทงตายอดออกมาให้เห็น



กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จในการพัฒนาพันธุ์มะนาวลูกผสม
ที่มีชื่อว่า “ พันธุ์พิจิตร 1 ”
โดยใช้เวลาวิจัย และพัฒนาพันธุ์นาน ถึง 20 ปี
เป็นการผสมระหว่าง มะนาวพันธุ์แป้นรำไพ และ มะนาวน้ำหอม
สามารถต้านทานโรคแคงเกอร์ได้ดี อีกทั้งยังมีขนาดใบที่ใหญ่และหนากว่ามะนาวแป้นทั่วไป
จึงไม่มีปัญหาหนอนชอนใบ ช่วยลดการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช
ได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง มีความเหมาะสมที่จะปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน และส่งออก
ปลูกเพียง 1 ปี ก็จะเริ่มให้ผลผลิต และให้ผลผลิตดกมาก เมื่อต้นมะนาวมีอายุมากขึ้น
สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

                                   ที่มาของกิ่งพันธุ์มะนาวพิจิตร 1






มะนาวพิจิตร 1
“มะนาวพิจิตร 1” เป็นมะนาวที่นัก วิชาการได้พัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ มีจุดประสงค์ให้เป็นพันธุ์ที่มีความทนต่อ “โรคแคงเกอร์” สูง เมื่อนำไปปลูกแล้ว ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นให้เปลืองเงินและทำลายสุขภาพ

มะนาวพิจิตร 1 เกิดจากการนำเอา มะนาวแป้นรำไพ กับ มะนาว นํ้าหอมอุดร ผสมเกสรกันแล้วได้ ลูกไม้ใหม่เป็น “มะนาวพิจิตร 1” มีลักษณะพิเศษทนต่อ “โรคแคงเกอร์” สูง ตามที่กล่าวข้างต้น และที่สำคัญ “มะนาวพิจิตร 1” ยังเป็น สายพันธุ์ที่ ปลูกง่าย เติบโตเร็ว ติดผลดกไม่ขาดต้น ผลมีขนาดใหญ่ (ภาพประกอบคอลัมน์ถ่ายเทียบกับผลส้มเช้ง) ให้นํ้าเยอะ นํ้ามีรสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอมตามสายพันธุ์มะนาวนํ้าหอมอุดร จึงกำลังเป็นที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายอยู่ ในเวลานี้

มะนาวพิจิตร 1 อยู่ในวงศ์ RUTACEAE เป็นไม้พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชนิดมีใบย่อยใบเดียว ออกเรียงสลับ เป็นรูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน เนื้อใบมีจุดนํ้ามันกระจายทั่ว ก้านใบมีครีบเล็กๆสีเขียวเข้ม ใบเมื่อขยี้จะมีกลิ่นหอม

ดอก ออกเป็นดอกเดี่ยวๆ หรือเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด กลีบดอกเป็นสีขาว มีกลิ่นหอมแบบสะอาด กลีบดอกจะร่วงง่าย “ผล” เป็นรูปทรงกลมกึ่งแป้น ก้นผลตัดเรียบ เนื้อใบฉํ่านํ้า เปลือกผลค่อนข้างบาง เมล็ดมีน้อย ให้นํ้าเยอะ รสเปรี้ยวจัด มีกลิ่นหอม ขนาดผลเฉลี่ยโตกว่าผลมะนาวสายพันธุ์ดังๆชัดเจน

ติดผล เป็นพวง 3-5 ผลต่อพวง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ตอนกิ่ง และเสียบยอด ปัจจุบัน “มะนาวพิจิตร 1” หรือมีชื่อเรียกอีกคือ “มะนาวแป้นพิจิตร 1”


ผลจากการเสียบกิ่งเปลี่ยนยอดได้ผลเป็นที่น่าพอใจ  ต้นเจริญเติบโตดี แผ่กิ่งได้ดีมาก ออกดอกติดผลให้ดูบ้างเล็กน้อย ยังไม่เร่งให้มีการสร้างตาดอกในช่วงนี้ คงบำรุงให้แตกยอดให้มาก ๆ