ค้นหาบล็อกนี้

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ดอกพุดพิชญา


ชื่อวิทยาศาสตร์ -ตระกูล - ชื่อสามัญ - ถิ่นกำเนิด ศรีลังกา
ขยายพันธุ์โดยการ ตอนกิ่ง และการปักชำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ -ตระกูล - ชื่อสามัญ - ถิ่นกำเนิด ศรีลังกา
ต้นพุดพิชญา เป็นต้นไม้ใหม่นำเข้าจากประเทศศรีลังกา มีชื่อทองถิ่นว่า "อิดด้า" (Inda) มีความหมายว่าดอกไม้สีขาวบริสุทธิ์ ประเทศศรีลังกาเป็นเมืองพุทธศาสนา สีขาวเป็นสีที่สัมพันธ์กับศาสนาพุทธ จึงเป็นดอกไม้บูชาพระพุทธรูป โดยเฉพาะสักการะพระเขี้ยวแก้ว โดยจัดดอกไม้ใส่กรวยใบตองหรือจัดใส่พาน ต้นพุดพิชญาเข้าประเทศไทยครั้งแรกเมื่อสีบปีมาแล้ว ผู้นำเข้าคือ คุณปราณี คงพิชญานนท์ เธอชอบความงามบริสุทธิ์ ความที่ลักษณะของดอกสีขาวเหมือนกลุ่มดอกพุดในบ้านเรา เธอจึงนำชื่อดอกพุดมาสมาสเข้ากับวลีนามสกุล ออกมาเป็นชื่อใหม่ว่า "พุดพิชญา"พุดพิชญาเป็นไม้ชนิดทั้งต้นเตี้ย ต้นสูง และต้นใหญ่ ให้ดอกเต็มกิ่งเป็นช่อดอก ช่อละ 5 - 10 ดอก ดอกบานทนตั้งแต่แรกแย้มไปจนสู่บานเต็มที่ ใช้เวลา 4 - 5 วัน ดอกตูมในช่อดอกอื่นๆก็ค่อยทยอยโต และทยอยกันบานไปเรื่อยๆ จึงทำให้ดอกติดต้นตลอดเวลา ลักษณะดอกเป็นกลีบแยก 5 กลีบ เกสรตรงกลางสีเหลืองมีฝอยเกสรสีขาวล้อมรอบ เมื่อดอกบานเต็มที่เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว ก้านดอกยาวประมาณ 1 นิ้วสีขาวกระจ่างของดอกพุดพิชญาคือเสน่ห์ที่ไม่เหมือนใคร สีขาวที่ไม่เจือปน จึงดูขาวโดดเด่น ในยามค่ำคืนสีดอกพุดพิชญาดูเหมือนจะเรืองแสง จึงเห็นกระจ่างในความมืด ซึ่งเป็นลักษระพิเศษของดอกไม้นี้ ใบรูปไข่ หน้าใบ สีเขียวเข็ม หลังใบสีเขียวอ่อน ใบไม่ร่วงหรือเรียกว่าไม่ผลัดใบ
ออกดอกตลอดทั้งปี
เติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและชอบดินที่ระบายน้ำได้ดี ชอบเเดดจัดแต่ก็สามารถนำไปปลูกในที่แดดรำไรหรือแดดครึ่งวันได้ ไม่ชอบน้ำท่วมขัง แฉะไม่ได้เลย ต้นจะเนาและตาย














ต้นนี้ซื้อต้นเล็กมามีแค่กิ่งเดียว ตอนซื้อก็ตั้งใจว่าจะเอากิ่งมาต่อกับต้นโมก  ซึ่งมีปลูกไว้อยู่แล้ว  มาถึงจัดการเปลี่ยนยอดโมกให้เป็นยอดพุดพิทยา  เข้ากันได้ดี  สามารถแตกกิ่งก้าน และออกดอกตลอดปี

มะระขี้นก

มะระขี้นก
มะระ เป็นไม้เลื้อยเขตร้อนในวงศ์แตง (Cucurbitaceae) นิยมปลูกเพื่อใช้ผลและยอดเป็นอาหาร มีรสขม ที่รู้จักกันดีมี 2 สายพันธุ์ คือ มะระขี้นกและมะระจีน ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันคือ Momordica charantia สำหรับชื่อในภาษาอังกฤษมีหลายชื่อ เช่น balsam apple, balsam pear, bitter cucumber, bitter gourd, bitter melon (สำหรับชื่อ bitter gourd หรือ biiter melon นี้มีที่มาจากชื่อจีนที่เรียกว่า 苦瓜)
มะระขี้นก เป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นได้ทั่ว ๆ ไป ลูกเล็กรูปร่างคล้ายกระสวย ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก นกชอบมาจิกกินทั้งผลและเมล็ด แล้วก็ถ่ายเมล็ดไว้ตามที่ต่าง ๆ จึงเรียกกันว่ามะระขี้นกมะระขี้นก มีรสขมกว่ามะระจีน จึงนิยมกินในหมู่ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ ผลอ่อนนำไปต้มหรือเผากินได้ทั้งลูก ผลแก่ต้องนำมาผ่ากลาง คว้านเมล็ดออกเสียก่อน การลดความขมของมะระขี้นกนั้นทำได้โดยต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือสักหยิบมือ ลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ มะระจะยังคงมีผลสีเขียวสด หรือจะต้มกินกับน้ำพริกก็ได้ บางครั้งราดด้วยกะทิสดเพื่อเพิ่มรสชาติ

กล้วยเล็บมือ

กล้วยเล็บมือ
ชื่อสามัญ -ชื่อพ้อง กล้วยข้าว กล้วยหมากชื่อวิทยาศาสตร์ Musa (AA group) "Kluai Leb Mu Nang"แหล่งที่พบ แถบภาคใต้ และภาคกลาง แถบกรุงเทพ
ลักษณะทั่วไปต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 2.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกสีชมพูอมแดง มีประดำหนา ด้านในสีชมพูอมแดงใบ ก้านใบสีชมพูอมแดง ตั้งขึ้น มีร่องกว้าง มีครีบ เส้นใบสีชมพูอมแดง ใบสีเขียวอ่อน ค่อนข้างแคบ ดอก ก้านช่อดอกมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างยาว ม้วนงอขึ้น ปลายแหลม ด้านนอกสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดงซีดผล หวีหนึ่งมี 10 - 16 ผล ผลเล็กรูปโค้งงอ ปลายเรียวยาว ก้านผลสั้น เปลือกหนา เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง และยังมีก้านเกสรตัวเมียติดอยู่ กลิ่นหอมแรง เนื้อสีเหลือง รสหวาน
การใช้ประโยชน์ ผลใช้รับประทานสด หรือแปรรูปเป็นกล้วยตาก กล้วยอบน้ำผึ้ง