ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

มะเขือพวง Solanum torvum Sw.
















มะเขือพวง Solanum torvum Sw.

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
ชื่อวงศ์
SOLANACEAE
ซื่อสามัญ
Plate brush egg plant

ชื่อท้องถิ่น
มะเขือละคร หมากแค้ง มะแคว้งกูลัว มะแคว้งกูลา
มะแว้ง มะแว้งช้าง รับจงกลมปอลอ ปอลือ เขือข้อย เขือพวง
ลูกแว้ง แว้งช้าง เขือเทศ ตะโกงลาโน จะเคาะค่ะ หมากแข้ง มะแขว้ง มะแข้งคม มะเขือป้าว (ภาคเหนือ) มะเขือฝรั่ง (กรุงเทพฯ)
มะเขือขาว มะเขือจานมะพร้าว มะเขือกระโปกแพะ มะเขือจาน (ภาคกลาง) สะกอวา ยั่งมูไล่ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เกียจี้ (จีน)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
มะเขือพวง มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Solanum torvum Sw. อยู่ในวงศ์ SOLANACEAE ซึ่งเป็นวงศ์ของพืชพวกพริกและมะเขือ
ต่าง ๆ นั่นเอง มะเขือพวงมีลักษณะพิเศษบางประการต่างจากมะเขือชนิดอื่น ๆ คือเป็นไม้พุ่มยืนต้นข้ามปี ไม่ใช่พืชล้มลุกเหมือน
มะเขือ
ชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีขนาดใหญ่โตกว่ามะเขือชนิดอื่น ๆ ด้วย เพราะมีทรงพุ่มสูงถึงกว่า 1 เมตร ขึ้นไปถึง 2 เมตร
มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ที่สำคัญ

การปลูกพืชให้ประสบผลสำเร็จสูงและลดค่าใช้จ่ายได้ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่าง นับจากเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้ จนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต และถ้าจะให้ดี เกษตรกรควรเริ่มต้นจากการหาเมล็ดพันธุ์ที่ดี แล้วนำมาเพาะกล้า
การเพาะกล้าให้ต้นแข็งแรงและให้ผลผลิตสูง การเพาะกล้าพืชที่ถูกต้อง มีขั้นตอน ดังนี้
1. ต้องเลือกเมล็ดพันธุ์พืชที่มีคุณภาพที่ดี คือ ทนต่อโรคและแมลง, เปอร์เซ็นต์ความงอกสูง รวมทั้งดูวัน เดือน ปี ที่ผลิตว่ายังไม่หมดอายุ
2. ถ้าเมล็ดพืชที่เพาะมีเปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ควรกระเทาะหรือลอกเปลือกออก วิธีการนี้จะช่วยให้เมล็ดงอกเร็วขึ้นกว่าการเพาะเมล็ดทั้งเปลือก พืชที่นิยมลอกเปลือกหุ้มเมล็ดออก เช่น มะม่วง
3. การแช่น้ำเมล็ดพืชจะทำให้เปลือกหุ้มเมล็ดอ่อนตัวลง จึงช่วยให้เมล็ดพืชงอกได้เร็วชึ้น วิธีการคือ นำมาแช่ในน้ำหรือน้ำอุ่น (ใช้น้ำร้อนผสมน้ำเย็น อัตราส่วน 1:1) แช่นาน 30 นาที และปล่อยจนน้ำเย็น แช่ทิ้งไว้นาน 10-12 ชม. จึงนำมาห่อผ้าเปียกไว้ รดน้ำ 2-3 วันพอเริ่มมีงอกขาวๆๆปริๆๆออกมา นำไปเพาะลงในถาดเพาะกล้าหรือถุงเพาะกล้า พืชที่นิยมแช่น้ำเมล็ด เช่น พริก มะเขือ
4. การเตรียมวัสดุเพาะกล้าพืช ทำได้โดยการผสมดินร่วน : ปุ๋ยคอกละเอียดและเก่า : ขี้เถ้าแกลบ อัตราส่วน 1 : 1 : 1 เมื่อผสมวัสดุเพาะกล้าแล้วนำกรอกลงในภาชนะ เช่น ถาดเพาะ กระถาง ถุงพลาสติก ฯลฯ โดยใส่วัสดุเพาะกล้าลงในภาชนะประมาณ 2 ใน 3 ของความสูงของภาชนะบรรจุ ไม่ควรใส่ให้สูงล้นเต็มภาชนะ เพราะเวลารดน้ำจะทำให้เมล็ดพันธุ์ไหลหลุดติดไปกับน้ำที่ใช้รด
5. เกลี่ยผิวหน้าวัสดุเพาะให้เรียบ และทำเป็นหลุมหรือร่องเล็ก ๆ ตามขนาดความยาวของภาชนะ ระยะห่างระหว่างแถว ประมาณ 3 ซม. ลึกประมาณ 0.5-1 ซม.
6. โรยเมล็ดพันธุ์ลงไป ถ้าเป็นหลุมปลูก ควรหยอดเมล็ด 2-3 เมล็ด/ หลุม ถ้าโรยเป็นแถว ควรโรยบาง ๆ และกลบวัสดุปลูกทับเมล็ดพันธุ์ผักที่โรยไว้
7. ควรหว่านปูนขาวบาง ๆ ลงบนผิวของวัสดุปลูก เพื่อป้องกันมดหรือแมลงเข้าทำลายเมล็ดพันธุ์
8. ควรวางภาชนะเพาะกล้าในที่ร่มรำไร และรดน้ำทุก ๆ วัน ละ 2 ครั้ง ในช่วงเช้าและเย็น
9. เมื่อเมล็ดเริ่มมีใบจริง ควรวางภาชนะเพาะกล้าให้ได้รับแสงสว่างในช่วงครึ่งวันเช้า หรือใช้วัสดุพรางแสงกั้นบนภาชนะที่ใช้เพาะกล้า เพื่อให้กล้าผักเริ่มปรับตัวแข็งแรงขึ้น และไม่กระทบกระเทือนต่อสภาพการย้ายปลูกต่อไป
10. เมื่อกล้าที่เพาะโตและแข็งแรงแล้ว ควรทำการย้ายกล้าลงแปลงปลูก
11. ใสปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก รองก้นหลุมก่อนปลูก เพื่อช่วยปรับสภาพดิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น