ต้นชะมวง
ชื่อท้องถิ่น:ต้นชะมวง
ชื่อสามัญ:-
ชื่อวิทยาศาสตร์: (Garcinia cowa Roxb)
ชื่อวงศ์: GUTTTIFERACEAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท:ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช:ใบชะมวงจากต้นชะมวง หรือที่ทางปักษ์ใต้เราเรียกว่า ต้นส้มมวง ถือเป็นไม้ไทยใกล้มือที่คนท้องถิ่นแถบภาคตะวันออกแถวเมืองจันทร์ไปจนถึงตราดและแถวปักษ์ใต้บ้านเรา นิยมเก็บยอดและใบอ่อนมาปรุงอาหารประเภทต้มส้ม แกงส้ม โดยต้มกับกระดูกหมู กระดูกวัว หรือซี่โครงหมู ที่เรียกกันว่า ซี่โครงหมูต้มใบชะมวง สำหรับที่เป็นอาหารขึ้นโต๊ะในเมนูอาหารรสเด็ดที่รู้จักกันดีก็คือ แกงกะทิใบชะมวง ทั้งนี้ก็เพราะจะได้ รสชาติเปรี้ยวกลมกล่อม
ต้นชะมวงหรือต้นส้มมวงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า การ์ซิเนีย โคว่า (Garcinia cowa Roxb) ลักษณะของต้นชะมวงและต้นมะดันมีความคล้ายกัน เพราะต้นไม้ 2 ชนิดนี้ มีรากเหง้าเหล่ากออยู่ในวงศ์กัททิฟเฟอราซี้ (Guttifferacae) เหมือนกัน แต่ถ้าหากเป็นคนช่างสังเกตจะเห็นว่า ส้มมวงหรือต้นชะมวง มีรูปทรงใบ ข้อ และผล ที่มีรสเปรี้ยวเหมือนกับมะดันก็จริง แต่ต้นมะดันจะมีลำต้นค่อนข้างเตี้ย ไม่ใหญ่โต ชอบขึ้นตามดินจืดทั่วไป ส่วนต้นชะมวงจะมีลำต้นค่อนข้างใหญ่โต ต้นสูง ชอบขึ้นตามดินน้ำเค็มถึงดินกร่อยชายทะเล
ลักษณะโดยทั่วไปของต้นชะมวงหรือต้นส้มมวง จัดเป็นไม้ป่าประเภทยืนต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15-20 เมตร ลำต้นโตขนาด คนพอโอบโคนต้นมิด ส่วนใหญ่ลำต้นจะเปราค่อนข้างตรงและสูงชะลูด เปลือกต้นมีลักษณะแข็งผิวสีน้ำตาลไหม้ปนเทา กระพี้มีสีเหลือง มีเสี้ยนยาวละเอียด ค่อนข้างเหนียว ทนทาน แก่นสีน้ำตาลไหม้ แข็งเหนียว ถ้าถากเปลือกออกมาจะ มีกลิ่นเปรี้ยวอ่อนๆ โชยออกมา ค่ะ ใบของต้นส้มมวงเป็นใบเดี่ยว ออกสลับคล้ายกับใบมะดัน รูปทรงใบหอกรียาว โคนและปลายแหลม ยาวประมาณ 10-15 ซม. ใบหนาค่อนข้างแข็งเป็นมัน ส่วนยอดอ่อนจะมีสีน้ำตาลแดง ใต้ใบจะมีสีนวลจางกว่า สำหรับลักษณะดอก ดอกจะมีขนาดเล็ก กลีบดอกค่อนข้างแข็ง มีสีเหลืองอ่อน ซึ่งเมื่อดอกบานจะมีกลิ่นหอมระรวย และเมื่อดอกได้รับการผสม จะกลายเป็นผล ผลของต้นส้มมวง มีลักษณะกลมมองดูคล้ายลูกมังคุด เนื้อผลมีสีขาวค่อนข้างเปรี้ยว ภายในมีเมล็ดค่อนข้างแข็งแยกออก 2 ซีก เมล็ดนี้สามารถเจริญไปเป็นต้นได้ บางคนจะเก็บเอาลูกชะมวงมาหั่นตากแดดให้แห้งเพื่อเก็บเอาไว้ใส่แกงส้ม
สอบถามเพื่อเพิ่มความรู้นะครับ ปรกติแล้วต้นไม้ชะมวงน้นิยมนำมาทำไม้แปรรูปไหมครับ และลักษณะเนื้อไม้เป็นอย่างไร มีภาพถ่ายด้วยคงจะดีครับ ตอบด้วยนะครับ E-mail pisal_kamya@hotail.com
ตอบลบต้นชะมวง
ตอบลบลักษณะประจำพันธุ์
ต้นชะมวงมีขนาดกลาง สูง 15 - 20 ม. เรือนยอด เป็นพุ่มรูปกรวยคว่ำ ทรงสูง แตกกิ่งชั้นเดียว เปลือกนอก เรียบ สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ต้นแก่มีรอยแตกตามยาวโดยรอบลำต้น และอาจมีรอยแผล เปลือกใน สีชมพูถึงแดง มีน้ำยางสีเหลืองขุ่นไหลเยิ้มออกมาจากเปลือกต้น
ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ แต่ละคู่เรียงตรงกันข้ามเป็นมุมฉากซึ่งกันและกันใบรูปไข่ขอบขนาน ปลายใบและโคนใบแหลม ผิวใบเป็นมัน เนื้อใบหนา ขอบใบเรียบมีเคลือบมันรอบขอบใบ ใบอ่อน สีแดงอมเหลือง ใบแก่สีเขียวเข้ม แห้งสีน้ำตาลอ่อนแกมชมพู ท้องใบมีจุดและก้านใบยาว 1 - 1.5 ซม. เส้นใบมีมาก ละเอียด แต่มองเห็นได้ทางหลังใบ ใบมีรสเปรี้ยว
ดอก เป็นช่อขนาดเล็ก กลีบดอกแข็ง หนา ขนาด 10 - 15 มม. แตกออกจากโคนใบและปลายกิ่ง
ดอกเพศผู้ สีชมพูถึงแดง ขนาดเล็ก กระจุกละ 3 - 8 ดอก ก้านช่อดอก ยาว 3 - 4 มม. กลีบรองกลีบดอก 4 กลีบ รูปรีแกมขอบขนาน ขนาด 4 - 6 X 6 มม. ปลายกลีบกลม กลีบดอกมี 4 กลีบ รูปรีขนาด 2.5 - 4.5 ซม. เกสรตัวผู้จำนวนมากก้านเกสรสั้นอับเรณูรูปขอบขนานเป็นสี่เหลี่ยม เกสรตัวผู้ไม่สมบูรณ์เชื่อมกันเป็นกลุ่มรอบรังไข่ไม่มีเกสรเพศตัวเมีย
ดอกเพศเมีย เป็นดอกเดี่ยว ๆ ก้านดอกสั้นมาก กลีบรองดอกและกลีบดอกคล้ายคลึงดอกเพศผู้ แต่มีขนาดใหญ่กว่าเล็กน้อย รังไข่แบบ superior รูปกลม ผิวเป็นพู 6 - 8 พู ก้านเกสรสั้น ยอดเกสรแยกเป็น 6 - 8 แฉก เป็นปุ่มปม ภายในแบ่งเป็น 6 - 8 ช่อง แต่ละช่องมีไข่ 1 หน่วย ดอกแยกเพศอยู่ต่างต้น
ผล ผลสด ทรงกลม ผิวเรียบมีร่องรอยเป็นพูบาง ๆ รอบผล ขนาดผล 2.5 - 3.0 ซม. ผลอ่อน สีเขียวอมเหลือง ผลแก่ เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงส้ม ผลสุกจะแตกออกเป็นหลายเสี้ยวภายใน เนื้อผลสีเหลืองส้ม จำนวนเมล็ด มีเมล็ด 7 - 12 เมล็ด เมล็ดมีสีเหลืองถึงส้ม
ระยะเวลาในการออกดอกและเป็นผล ออกดอกระหว่างเดือน มีนาคม -มิถุนายน และเป็นผลระหว่างเดือน สิงหาคม-พฤศจิกายน
การขยายพันธุ์ นิยมใช้เมล็ด หรือการตอน
ประโยชน์การใช้สอย
ด้านเนื้อไม้แปรรูป ใช้ในการก่อสร้างได้ดี
ด้านน้ำยาง สีเหลืองจากต้นสมัยก่อนใช้ผสมในน้ำมันชักเงา
ด้านการฟอกหนัง ทางภาคใต้ของประเทศไทย นิยมนำผลและใบแก่มาหมักเป็นน้ำกรด สำหรับฟอกหนังวัวและควายที่ใช้แกะสลักรูปหนังตะลุง
ด้านการทำสีย้อม เปลือกต้นและยางให้สีเหลือง ไม่มีรายงานว่าภาคใดใช้และใช้กับเส้นใยไหมหรือฝ้าย
ด้านเป็นพืชอาหาร ส่วนที่ใช้เป็นอาหารคือ
ยอดอ่อนและใบอ่อน ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร (ใบระยะเพสลาด) นอกจากนี้ยังใช้ปรุงอาหารอื่นให้มีรสเปรี้ยว เช่น แกงส้ม ต้มส้ม ต้มเครื่องใน ต้มขาหมู
ผลสุก รับประทานได้เช่นเดียวกับมังคุด แต่มีรสเปรี้ยว ทางใต้ใช้ผลปรุงแกงส้ม
ถ้าปลูกใกล้สิ่งปลูกสร้างระบบรากชอนไชแข็งแรงจนสามารถทำลายพื้นคอนกรีตหรือแนวกำแพงหรือเปล่า ใครทราบช่วยตอบหน่อย ขอบคุณคะ่
ตอบลบชะมวง เป็นไม้ยืนต้น มีระบบรากเป็นรากแก้ว สามารถเจริญเติบโตได้ดี ระบบรากไม่ทำลายระบบประปาเช่นต้นไม้จำพวก ไทรทุกชนิด โพธิ์ ที่ไม่ควรปลูกใกล้บ้านเนื่องจากจะใช้ระบบรากเข้าทำลายระบบประปา ท่อน้ำทิ้ง ห้องน้ำ กำแพง ทำให้กำแพงเสียหายได้ แต่ชะมวงถ้าปลูกใกล้บ้านมากเกินไป โตขึ้น ระบบรากโตขึ้น ก็สามารถทำให้พื้น กำแพง แตกได้เหมือนกันกับต้นไม้อื่นทั่วไป
ตอบลบแล้วชนิดของผลชะมวงเป็นชนิดอะไร ผลสดหรือผลแห้งค่ะ ใครรู้ทราบช่วยบอกที ขอบคุณค่ะ
ตอบลบผลของชะมวงหรือต้นส้มมวง มีลักษณะกลมมองดูคล้ายลูกมังคุด เมื่ออ่อนมีสีเขียว แก่จนสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง เนื้อผลมีสีขาวค่อนข้างเปรี้ยว ตอนเด็กๆ เก็บมากินเล่น รสเปรี้ยว
ตอบลบกรุงเทพฯปลูกได้ไหมคับ
ตอบลบอยากทราบว่าชะมวงมีกี่สายพันธุ์ครับ
ตอบลบอยากทราบวิธีกำจัดต้นชะมวงค่ะ เพราะที่บ้านเป็นทาวเฮาส์ ปลูกมา 5 ปีแล้ว เริ่มมีต้นเล็กๆ เต็มพื้นดิน เอายาราดตอมาใช้ไม่ได้ผลเลย ยังงอกสวยงาม
ตอบลบดีจังเลย ปลูกต้นเดียวมีต้นเล็กๆโผล่มาเยอะเลย เก็บใบขายเป็นรายได้เสริมเลยดีไหมครับ แสดงว่าว่าขึ้นจากรากที่มีร่องรอยการถูกทำให้เป็นแผล เช่นถากหญ้าโดนราก เป็นแผล เลยงอกเป็นต้นใหม่มาเยอะ ไม่มีวิธีใดเท่ากับใช้กรรไกรตัดต้นใหม่ที่ขึ้นมาไม่ให้ให้มีปริมาณมากเกินความต้องการ ถ้าต้องการทำลายจริงๆก็ต้องโค่นต้นแม่ทิ้ง แต่กิ่งจะขึ้นมาอีกสักพัก ต้องคอยตัดจนกว่าตอจะตาย น่าเสียดายนะ
ลบต้นชะมวงเราปลูกลงกระถางจะได้ไหมเพื่อบังคับต้นไม่ใหญ่สูงใหญ่
ลบที่บ้านปลูกในใส่กระถางมังกรขนาดใหญ่สั 3 ปี๊บ อยู่ได้หลายปีค่ะ แต่สุดท้ายก็ไม่รอด
ลบ