ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum Gratissimum
ชื่อสามัญ Kawawya, Caraway Friut, Caraway Seed, Kummel,Caraway
วงศ์ APIACEAE
ลักษณะ :
ยี่หร่า หรืออีกชื่อหนึ่งคือหอมป้อม เป็นพืชพื้นเมืองของทวีปยุโรปและเอเชียตะวันตก ต่อมาได้มีผู้นำไปปลูกในประเทศต่างๆจนแพร่หลาย จัดเป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 2 ปี ลักษณะของลำต้นตรง ลักษณะใบประกอบกันคล้ายขนนก ออกดอกเป็นช่อ มีก้านยาว ดอกย่อยสีขาว ผลแห้งไม่แตกยาว 3-7 มิลลิเมตร กว้าง 1.5-2 มิลลิเมตร รูปขอบขนานแบนโค้งเล็กน้อย มีสีออกน้ำตาล มีสันตามยาว 5 เส้น มักเข้าใจผิดว่าเป็นเมล็ด นำมาทุบให้แตกจะมีกลิ่นหอมเฉพาะ
คุณค่าทางอาหาร :
เมล็ดยี่หร่ามีลักษณะยาวเรียว สีออกขาวอมเทา ก่อนปรุงอาหารมักนำไปคั่วและบดเป็นผง เก็บในภาชนะมิดชิด ยี่หร่ามีสรรพคุณช่วยไล่แก๊สในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการปวดท้อง และยังช่วยรักษาอาการอาหารไม่ย่อยอีกด้วย
การวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการของใบยี่หร่าพบปริมาณธาตุเหล็กดี (2.7mg ต่อ 100 กรัม) แคลเซียมสูง (109mg ต่อ 100 กรัม) และอุปทานที่น่าประทับใจของวิตามินต่อไปนี้แคโรทีน (4.7mg ต่อ 100 กรัม), กรดโฟลิค (100 ไมโครกรัม ต่อ 100 กรัม) และวิตามินซี (93.0mg ต่อ 100 กรัม)
ประโยชน์
อาหารไทยใช้ยี่หร่าในการปรุงแต่งกลิ่นอาหาร โดยคั่วเมล็ดโขลกผสมกับเครื่องแกง เช่นแกงกะหรี่ แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน ส่วนต้นและรากตากให้แห้ง ช่วยย่อย ยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ใช้เป็นเครื่องปรุง เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารบางชนิด เช่น แกง ต้มยำ ซุป มักเป็นที่นิยมกันในแถบยุโรปหรือตะวันออกกลาง ช่วยให้มีกลิ่นหอม ดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ ต้องการกลิ่นเฉพาะในการทำขนมปังและพิซซ่าบางประเภท ให้แตกต่างจากกลิ่นที่คุ้นเคย นอกจากนี้ยังเป็นส่วนประกอบของการถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ โดยนำมาป่นหรือตำผสมในเนื้อสัตว์เวลาหมัก เพราะน้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ได้ ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการบูดเน่าเร็วขึ้น ป้องกันกลิ่นเหม็นอับของเนื้อสัตว์เวลาหมักก่อนนำไปตากแห้ง ส่วนประกอบของเครื่องแกง เช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น แกงเผ็ดเห็ด แกงฮังเล บาเยีย การทำเนื้อสวรรค์
ส่วนของใบยี่หร่าอุดมไปด้วยวิตามินซีและแคลเซียม มีสรรพคุณช่วยในการขับเหงื่อ ซึ่งเป็นของเสียออกจากร่างกาย ช่วยในการบำรุงธาตุ ขับลม แก้โรคเบื่ออาหาร แก้ปวดท้องเนื่องจากอาหารไม่ย่อย แก้ท้องอืด คลื่นไส้ โดยนำมาชงดื่มจนกว่าจะหาย นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหย มีฤทธิ์ระงับอาการเกร็งของลำไส้ ฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ โดยใช้ผลแห้ง 3-5 กรัม ชงกับน้ำเดือดปริมาณ 1 ลิตร ทิ้งไว้สักระยะหนึ่งจึงนำมาดื่มวันละ 3-4 ถ้วยตวง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น