ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 1 แนะนำผลผลิตที่เกิดจากใบไม้

ผลผลิตที่เกิดจากการใช้อินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายจากการสลายตัวของใบไม้ ผสมกับ อินทรีย์วัตถุประเภทปู๋ยคอก เช่น ขี้วัว ขี้ไก่ เป็นต้น แต่วัสดุหลักจะเป็นใบไม้ เทปูราบไปบนพื้นที่ และใช้เป็นเป็นวัสดุคลุมดิน
มะนาว ที่เห็นผลลักษณะคล้ายมะกรูด เปลือกมีผิวขรุขระคล้ายมะกรูด ผลใหญ่กว่ามะนาวทั่วไป ปลูกด้วยเมล็ด อายุประมาณ 2 ปีครึ่ง ให้ผลตลอดปี มะนาวก็เหมือนกับส้มทั้งหลาย ที่มีปัญหาในการจัดหมวดหมู่และแยกแยะทางอนุกรมวิธาน สำหรับชื่อวิทยาศาสตร์ที่ค้นเคยของมะนาว ก็คือ Citrus aurantifolia Swingle หรือ "Citrus aurantifolia" ( Christm & Panz ) Swing." แต่ยังมีชื่ออื่นๆ อีก ดังนี้

C. acida Roxb.
C. lima Lunan
C. medica var. ácida Brandis และ
Limonia aurantifolia Christm
สำหรับชื่อสามัญนั้น ในหลายภาษาก็เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ในภาษาอังกฤษ เรียก Mexica lime, West Indian lime, และ Key lime หรือเรียก lime สั้นๆ ก็ได้ สาเหตุที่มีหลายชื่ออาจเป็นเพราะเป็นพืชต่างถิ่น จึงไม่มีชื่อดั้งเดิมในภาษานั้นๆ ทำให้เกิดการเสนอชื่ออื่นๆ มาหลายชื่อก็เป็นได้ ส่วนในประเทศไทยยังเรียกอีกหลายชื่อ เช่น โกรยชะม้า, ปะนอเกล, ปะโหน่งกลยาน, มะนอเกละ, มะเน้าด์เล, มะลิ่ว, ส้มมะนาว, ลีมานีปีห์, หมากฟ้า อนึ่ง คำว่า เลมอน (lemon) ในภาษาอังกฤษ หมายถึง ผลส้มอีกชนิดหนึ่ง ที่หัวท้ายมน ไม่ใช่ผลกลมอย่างมะนาวที่เรารู้จักกันดี สำหรับ มะนาวเทศ (Triphasia trifolia) นั้น เป็นพืชในวงศ์เดียวกัน (Rutaceae) กับมะนาว แต่ต่างสกุล ส่วน มะนาวควาย หรือ ส้มซ่า (Citrus medica Linn. Var. Linetta.) เป็นพืชสกุลส้มเช่นเดียวกัน แต่ต่างชนิด (สปีชีส์) กัน ส้มนาวเป็นภาษาใต้ที่ใช้เรียกมะนาว เช่น

เดียวกับทางภาคอีสานเรียกผลไม้บางอย่างว่า"บัก"ในการขึ้นต้น เช่นบักม่วงที่หมายถึงมะม่วง คำว่าส้มในภาษาใต้จะใช้เรียกผลไม้บางชนิดที่มีรสเปรี้ยว อย่าง ส้มนาว ส้มขาม เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น