ต้นมะละกอ เมื่ออายุหลายปีต้นก็จะสูง แต่ถ้าเป็นพันธุ์ดี ปล่อยให้ตายเสียก็น่าเสียดาย เราสามารถตอนลงมาปลูกให้เป็น้ต้นใหม่ได้ วิธีการตอนก็เหมือนกับการตอนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวโดยทั่วไป เช่นการตอนต้นไผ่ ต้นวาสนา ต้นหมากผู้หมากเมีย วิธีการก็ทำให้เกิดแผลที่ต้น แล้วใช้เศษหินหรือกิ่งไม้ใส่ปากแผลให้อ้าเผยอ แล้วหุ้มกิ่งตอนด้วยวัสดุหุ้มและวิธีการเดียวกัน กับการตอนกิ่งแบบควั่นกิ่ง การดูแลก็เหมือนกัน สำหรับการตอนมะละกอ ถ้าใช้วิธีการปาดกิ่งเข้าไป ¾ ส่วนของกิ่ง อาจทำให้กิ่งส่วนยอดหักโคน ก่อนออกรากได้ ถ้ามีลมแรง เราอาจใช้ไม้ไผ่ผ่าแบน ๆ เหล่าให้เรียบร้อยแล้ว ใช้ขวานตอกไม้ไผ่ให้ทะลุลำต้นก็ได้
วันนี้วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2554 สังเกตเห็นรากมะละงอกออกมาให้เห็นบ้างแล้ว ไว้ออกรากเห็นชัดขึ้นแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูอีกครั้ง นับตั้งแต่วันตอนถึงวันนี้ 28 มกรา ประมาณ 20 วันพอดีถ่ายรูปรากที่โผล่อ
อกมาให้เห็นในวันที่ 21 วันนี้วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554 ถ่ายรู
ปมะละกอที่ออกรากมากพอที่จะตัดไปปลูกได้แล้วมาให้ดู สรุปแล้วการตอนมะละกอให้ออกรากเพื่อตัดไปปลูกได้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน โดยไม่ใช้ฮอร์โมนเร่งรากใดๆ
ตอนเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ไว้ออกรากเมื่อไรจะมา update อีกครั้ง
ตอบลบจริง ๆ แล้วมะละกอ ตอนให้ออกรากได้ไม่ยาก แต่ถ้าเป็นต้นที่มีลูกดกมาก ๆ เวลาตอนกลัวกิ่งหักเสียก่อน แล้วจะถ่ายมาให้ดูอีกครั้งตอนตัดลงปลูก
ตอบลบการตอน ไม่ทำให้เพศมะละกอเปลี่ยน? เท่ากับว่าไม่มีความเสี่ยงในการได้กินลูกSure
ตอบลบทำไมมะละกอที่ปลูกโคนต้นชอบเน่า หรือเมี่อมีผล ผลสุกมักจะเป็นจุด หรือ รา ปลูกไว้กินภายในครัวเรือน เป็นทุกต้น (จุด รา)ขอบคุณจะรอข้อคิดเห็นครับ
ตอบลบโรครากเน่า-โคนเน่า เกิดจากเชื้อพิเทียมและไฟท๊อปธอร่า
ตอบลบเกิดได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของมะละกอ ในระยะกล้าเกิดจากการเน่าคอดิน กล้ามะละกอที่เป็นโรคจะเกิดอาการใบเหลือง รากเน่า ต้นมักจะหักพับตรงโคน และเหี่ยวตายอย่างรวดเร็ว สำหรับต้นที่โตจะมีอาการเน่ารอบๆลำต้นเป็นสีน้ำตาลหรือดำลักษณะฉ่ำน้ำ รอยเน่าอาจขยายตัวขึ้นด้านบนของลำต้นหรือขยายลงส่วนรากทำให้รากเน่าด้วย ใบที่เกิดมาใหม่จะมีก้านใบสั้นกว่าปกติ ใบที่เจริญเต็มที่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเร็วกว่าปกติ โรคนี้ระบาดมากในช่วงฤดูฝน ถ้าต้นมะละกอเป็นโรคนี้จะระบาดได้รวดเร็วไปทั้งสวน
โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา
โรคนี้จะเข้าทำลายทั้งผลและใบของมะละกอ
อาการผลสุกจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพู ผลดิบอาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
อาการบนใบ ใบมะละกอที่เป็นโรคจะเหี่ยวแห้งหล่นไป โรคนี้จะระบาดมากในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก และมีความชื้นสูง
โรคแอนแทรคโนส เกิดจากเชื้อรา
ตอบลบโรคนี้จะเข้าทำลายทั้งผลและใบของมะละกอ
อาการผลสุกจะเกิดจุดฉ่ำน้ำและยุบลงไปในผล ตรงกลางจุดจะมีสปอร์ของเชื้อสีส้มหรือชมพู ผลดิบอาจเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน
อาการบนใบ ใบมะละกอที่เป็นโรคจะเหี่ยวแห้งหล่นไป โรคนี้จะระบาดมากในสภาพที่มีอุณหภูมิสูง ฝนตกชุก และมีความชื้นสูง
และจะมีวิธีการแก้ไขหรือรักษาอย่างไร หรือจะเริ่มต้นใหม่กับต้นกล้าอย่างไรผมใช้วิธีประหยัด โดยการเพาะเมล็ด ที่ซื้อผลมารัปทาน โดยเฉพาะดิน ส่วนผลิตภัณฑ์ ที่นำมาใช้ขอเป็นชื่อหรือยี่ห้อเลยครับ จะเป็นกรุณาอย่างยิ่ง ขอขอบคุณมากครับ ที่กรุณาให้ความรู้ดีๆกับผู้ที่ไม่ไช่เกษตรกรอย่างผมเพียงเพื่อไว้รัปทานเองในครัวเรือนครับ ขอบคุณอีกครั้ง......จาก ส.ว ครับ
ตอบลบการป้องกันกำจัด
ตอบลบ- ในสวนที่มีโรคนี้ระบาด ควรปลูกพืชอื่นทดแทน การปลูกซ้ำที่จะทำให้การระบาดของโรคมากขึ้น
- พบต้นที่แสดงอาการของโรคต้องถอนและเผาทิ้งทันที
- เลือกพื้นที่ปลูกมะละกอที่ดินมีการระบายน้ำดี น้ำไม่ท่วมขัง
http://watprodesktop.blogspot.com/2011/10/blog-post.html?showComment=1324782841466#c9149527194385157517
บล็อคมีประโยชน์มากค่ะ
ตอบลบขอบคุณครับ ช่วงนี้ไม่ค่อยว่างเลยไม่ได้อัพเดท
ลบ