ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การทำนาประณีตนาอินทรีย์

1.การคัดเมล็ดพันธุ์ คัดเลือกอย่างดีด้วยการวัดความถ่วงจำเพาะด้วยน้ำเกลือ งอกทุกเมล็ด เมล็ดแช่ฆ่าเชื้อราด้วยเชื้อราเขียว(ไตรโคเดอร์มา) ไม่มีข้าวดีดข้าวเด้งในแปลงนา



2.วัสดุเพาะเตรียมอย่างดีส่วนผสมระหว่าง ดินร่วน ขุยมะพร้าว ขี้ไส้เดือน ถ่านแกลบ  ผสมกันให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน
3.หยิบเมล็ดเพาะทีละเมล็ด  หยอดลงหลุมเพาะ หลุมละเมล็ด เพื่อให้ได้กล้าต้นเดียว เพาะกล้าอายุ 10 วัน ลงดำ
4.แปลงนาเตรียมปรับปรุงดินตั้งแต่ไม่เผาตอซัง เพิ่มอินทรียวัตถุลงในนา ใส่ขี้วัว ปล่อยแหนแดงช่วงมีน้ำก่อนไถ ไถตีดินให้เข้าจนเป็นเนื้อเดียวกัน ปรับพื้นนาให้เสมอกัน ไถเสร็จเปิดน้ำทิ้งให้แห้ง
5.ขึงเชือกระยะ 30X30 ซม. ปักดำกล้าที่ละต้น
6.ดำเสร็จเปิดน้ำเข้าเลี้ยงกล้าเล็กน้อย ข้าวตั้งตัวได้ดีแล้ว เพิ่มน้ำเข้านา 15 ซม.จนถึงประมาณ 20 วัน

7.ปล่อยน้ำออกจนนาแห้ง ข้าวแตกกอ  ใส่ขี้ไส้เดือนผสมถ่านไบโอชาคลุกเคล้าให้เข้ากันด้วยน้ำหมักชีวภาพ ประมาณวันที่ 50 เอาน้ำเข้านาหว่านแหนแดงอีกครั้ง  ถอนหญ้ากำจัดวัชพืชออกให้หมด  รักษาระดับน้ำประมาณ 15 ซม. จนถึงข้าวตั้งท้อง  ตัดหญ้าคันนาออกให้หมด จนข้าวออกรวง ถึงระยะ 110 วัน  ปล่อยน้ำออกจากนา

8.เกี่ยวข้าวหลังวันที่120 เกี่ยวด้วยเคียว อย่างประณีต  เก็บข้าวตากให้แห้งดีแล้ว นวดด้วยวิธีการนวดแบบโบราณ คัดเลือกเมล็ดออกจากวัสดุปนเปื้อน แกลบละอองข้าวออกให้หมด  ตากข้าวให้แห้ง
8.เก็บรักษาข้าวไว้ในที่แห้ง สะอาด  นำออกมาสีด้วยเครื่องสีข้าวขนาดเล็กสามารถปรับเป็นข้าวกล้อง ข้าวขาวได้
9.คัดเลือกข้าวเปลือก ข้าวหัก และเศษวัสดุออกให้หมดด้วยมืออย่างประณีต

10.บรรจุถุงซีลสุญญากาศอย่างปราณีต ถุงละ 1 กิโลกรัม



วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ทำนาดำกล้าต้นเดียว ข้าวหอมปทุม ปี2559


คำสำคัญประวัติข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1
ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 ได้มากจากการผสมพันธุ์ระหว่าง สายพันธุ์ข้าว BKNA6-183-2 (พันธุ์แม่) กับสายพันธุ์ PTT8506-3-21 ที่ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี เมือฤดูนาปรัง ปี 2553
พ.ศ.2533-2540            เปรียบเทียบผลผลิตในสถานีและระหว่างสถานี
พ.ศ.2539-2540            วิเคราะห์คุณภาพทางกายภาพและเคมี ทดสอบความต้านทานโรคแมลง ศัตรูที่สำคัญ
พ.ศ.2540-2541            เปรียบเทียบคุณผลผลิตในนาราษฎร ทดสอบเสถียรภาพการให้ผลผลิต
พ.ศ.2541-2542            ขยายพันธุ์เป็นพันธุ์หลัก
กรมวิชาการเกษตร พิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง โดยให้ชื่อ “ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1”
ลักษณะเด่นของข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 คือ
            1.เป็นข้าวเจ้าหอมที่ไม่ไวต่อช่วงแสง สามารถที่จะนำเอาไปปลูกได้ตลอดทั้งปี
  1. คุณภาพของเมล็ดคล้ายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อเวลาข้าวสุกจะนุ่มเหนียว และมีกลิ่นที่หอมมาก
  2. สามารถต้านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้
  3. สามารถต้านเพลี้ยกระโดดหลังขาวได้
  4. สามารถต้านโรคไหม้
  5. สามารถต้านโรคขอบใบแห้ง
  6. ให้ผลผลิตเฉลี่ย 650-774 กิโลกรัมต่อไร่
ลักษณะประจำพันธุ์ของ ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1 คือ
            1.เป็นข้าวเจ้าหอมไม่ไวต่อช่วงแสง ปลูกได้ทั้งฤดูนาปีและนาปลัง อายุของการเก็บเกี่ยวนาดำ 113-126 วัน นาหว่านน้ำตม 104-114 วัน
  1. ต้นสูงประมาณ 104-133 เซนติเมตร
  2. ทรงกอตั้ง
  3. ใบสีเขียวมีขน ใบแก่ช้า กาบใบและปล้องสีเขียว ใบธงยาว ตั้งตรงปานกลาง
  4. คอรวงสั้น รวงอยู่ใต้ใบธง
  5. เปลือกเมล็ดสีฟาง มีขน มีหาง กลีบรองดอกสีฟาง
  6. เมล็ดเปลือกข้าวเฉลี่ยยาว 10.52 มิลลิเมตร กว้าง 2.47 มิลลิเมตร และหลา 1.95 มิลลิเมตร
  7. เมล็ดข้าวกล้อง เฉลี่ยยาว 7.6 มิลลิเมตร กว้าง 2.17 มิลลิเมตร และหนา 1.72 มิลลิเมตร
  8. ระยะพักตัวของเมล็ด3-4 สัปดาห์
ข้อควรระวัง คือ
            1.ข้าวพันธุ์ปทุมธานี 1ค่อนข้างไม่ต้านทานเพลี้ยจักจั่นสีเขียว โรคใบหงิก และโรคใบสีส้ม
  1. ไม่ควรใช้ปุ๋ยในอัตราสูงมากจนเกินไป โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ถ้าใส่มากเกินไปอาจจะทำให้ฟางอ่อน ต้นข้าวล้มและผลิตลดลงได้

กำหนดวันแช่พันธุ์ข้าว

วันที่ 1  กรกฎาคม   2559
วันที่2  กรกฎาคม  2559
เพาะกล้าเรียงเม็ด
วันที่ 7  กรกฎาคม 2559
ถ่ายรูปกล้าอายุ 7 วันมาให้ดู







เพาะกล้าในกะบะเพาะหลุดละ 1 เมล็ด
ดำนากล้าต้นเดียวอายุ 10-15 วัน
ดำเป็นแถวห่างกัน  30X30 CM.






นาข้าวกับการทดน้ำเข้านา





ทำฝายกั้นน้ำ แล้วนำน้ำมาทำเป็นตะบันน้ำ  นำน้ำไปใช้ประโยชน์ตามต้องการ




ข้าวหลังปักดำประมาณ 1 เดือน
ฝายกั้นน้ำเพื่อปล่อยไปตามท่อเข้าสู่นา


ข้าวกำลังแตกกอ ถูกหนอนกอกัดกิน  ใส่น้ำให้ท่วมโคนข้าว ไล่หนอนขึ้นมาให้นกกิน
ท่อรับน้ำเข้านา
 ฝายน้ำล้น
ข้าวเมื่ออายุ 2 เดือน  ผ่านการถอนหญ้าและน้ำกำลังแห้ง

  เริ่มตั้งท้องแล้ว  อายุตั้งแต่วันเพาะกล้า  81 วัน
 ข้าวหอมปทุมเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ  110  วัน
 ใบข้าวแข็งแรง  ตั้งตรง  ใบหยาบ  หนอนแมลงไม่กล้าแตะ
 ประสิทธิภาพการแตกกอดีมาก  ช่องว่าง  30X30  หายไปหมดแล้ว