ต้นกะพ้อ เป็นพืชตระกูลปาล์ม ชอบขึ้นอยู่ในป่าพรุ ต้นนี้ขุดมาปลูกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ เมื่อหลายปีก่อน ตอนนี้โตเห็นต้นชัดเจน เป็นปาล์มที่แตกหน่อเป็นกอ แทงช่อดอกออกลูกสุกแดงทุกปีมาหลายปีแล้ว ในป่าธรรมชาติปัจจุบันเหลือน้อย เนื่องจากการใช้พื้นที่ทำนากุ้งกุลาดำ จนมาถึงการปลูกปาล์มน้ำมัน กะพ้อใช้ประโยชน์จากใบ ยอดอ่อน มาห่อขนม ที่เรียกว่าต้มใบพ้อ และยังสามารถนำใบแก่มาใช้ประโยชน์ในการสานเครื่องใช้ในบ้าน เช่นทำหมวก ทำพัด ในอนาคตต้นไม้ต้นนี้จะมีราคาแพง เนื่องจากหายาก
ชื่อวิทยาศาสตร์: Licuala spinosa Thunb.
ชื่อวงศ์: PALMAE
ชื่อสามัญ: Fan Palm
ชื่อท้องถิ่น: พ้อ
ถิ่นกำเนิด: ทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ลักษณะวิสัย: ปาล์ม
ลักษณะ: เป็นปาล์มพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยลำต้นมีลักษณะเป็นสูง ประมาณ 15 - 20 ฟุต ใบเป็นรูปพัด ก้านใบยาวเล็กมีใบย่อยแตกออกจากกัน และแตกออกจากจุดเดียวกัน ที่ก้านใบแต่ละใบจะมีใบย่อยประมาณ 12 - 18 ใบ ตามใบย่อยจะมีรอยจีบ ปลายใบตัด ใบย่อยยาว ประมาณ 1 ฟุต และกว้าง 4-5 นิ้ว ใบสีเขียวเข้มเมื่อเจริญเติบโตไปสักระยะหนึ่งจะเกิดหน่อตามบริเวณโคนต้นมากมาย เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกในสนามหญ้าเพื่อให้มันแตกกอเป็นพุ่มหรือจะทำเป็นสวนหย่อมก็ได้
ประโยชน์: ไม้ไม้ประดับ สวยงาม
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด แยกหน่อ
ชื่อวงศ์: PALMAE
ชื่อสามัญ: Fan Palm
ชื่อท้องถิ่น: พ้อ
ถิ่นกำเนิด: ทางภาคใต้ของไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ลักษณะวิสัย: ปาล์ม
ลักษณะ: เป็นปาล์มพื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทยลำต้นมีลักษณะเป็นสูง ประมาณ 15 - 20 ฟุต ใบเป็นรูปพัด ก้านใบยาวเล็กมีใบย่อยแตกออกจากกัน และแตกออกจากจุดเดียวกัน ที่ก้านใบแต่ละใบจะมีใบย่อยประมาณ 12 - 18 ใบ ตามใบย่อยจะมีรอยจีบ ปลายใบตัด ใบย่อยยาว ประมาณ 1 ฟุต และกว้าง 4-5 นิ้ว ใบสีเขียวเข้มเมื่อเจริญเติบโตไปสักระยะหนึ่งจะเกิดหน่อตามบริเวณโคนต้นมากมาย เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกในสนามหญ้าเพื่อให้มันแตกกอเป็นพุ่มหรือจะทำเป็นสวนหย่อมก็ได้
ประโยชน์: ไม้ไม้ประดับ สวยงาม
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด แยกหน่อ
สนใจอยากเอาปลูกใว้ที่ชลบุรหาซี้อที่ไหน
ตอบลบที่จังหวัดกระบี่คับ
ตอบลบ