มะรุม
มะรุมต้นนี้ได้พันธุ์มาจากอำเภอบ้านลาด วันนั้นปานช่วยงานทำบุญเลี้ยงพระ แล้วเที่ยวในหมู่บ้าน พบต้นมะรุมต้นหนึ่ง เห็นแล้วต้องขอพันธุ์ไปปลูก เนื่องจากเป็นมะรุมที่มีฝักใหญ่และยาวมาก กว่าที่เคยเห็นมา เจ้าของใจดีให้ฝักมาเพาะ วันนั้นได้รับแบ่งปันมาหลายคน ไม่ได้สอบถามว่าแต่ละคนมีเหลือคนละกี่ต้น ที่บ้านเหลือรอดต้นเดียว ให้ฟักเป็นปีแรก ฝักไม่ยาวเท่าต้นแม่ แต่เนื้อเยอะแกงกินอร่อยดี วันนี้เอารูปฝักที่พร้อมแกงมาให้ดู วันหลังจะมาลงวิธีแกงมะรุมให้อ่านกัน
ชื่อสามัญ : Hoseradish tree,Drumstick tree, Ben oil tree,Also call “mother’s best friend”
ชื่อพื้นเมือง : มะรุม(ภาคกลาง)ผักอีฮึม ผักอีฮุม(อีสาน) มะค้อนก้อม(เหนือ) กาแน้งเดิง(กะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรี) ผักเนื้อไก่ (แม่ฮ่องสอนบางพื้นที่)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa olifera Lamk.
วงศ์ : MORINGACEAE
ลักษณะทางพฤษศาสตร์ : มะรุมเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เรือนยอดกลมโปร่ง เจริญเติบโตเร็ว อาจเติบโตจนมีความสูงถึง 8 เมตร และ ออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก
ใบ – เป็นใบประกอบแบบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ก้านใบยาว 20-40 เซนติเมตร ออกเรียงสลับ ใบย่อย ยาว 1-3 เซนติเมตร ใบรูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีออ่นกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อนมีรสหวานมัน
ดอก – มะรุมออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกออกเป็นช่อสีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขมเฝื่อนนิดๆ แต่เมื่อนำมาผ่านความร้อนจนสุกจะออกรสหวาน มันเล็กน้อย
ผล – เป็นฝักยาว เปลือกของฝักมีสีเขียว มีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะๆ ตามความยาวของฝัก ฝักยาว 20-50 เซนติเมตร มีรสหวาน
เมล็ด – เป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางๆ หุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 เซนติเมตร รสขมเฝื่อนนิดๆ ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการผ่านความร้อนจนสุก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น