ขจร (Cowslip creeper)
ชื่อพื้นเมือง : สลิด ผักสลิดคาเลา สลิดป่า ผักสลิด กะจอน ขะจอน ผักขิก
ชื่อสามัญ : Cowslip creeper
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Telosma minor Craib
ชื่อวงศ์์ : ASCLEPIADACEAE
รส : ดอกมีรสเย็นขมหอม ราก มีรสเย็นเบื่อ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ขจร (Cowslip creeper) เป็นไม้เลื้อยเถาเล็กแตก
ยอดจำนวนมาก ทุกส่วนของลำต้นมีน้ำยางขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียง ตรงข้าม เป็น ใบคู่เป็นรูปหัวใจ กว้างและยาว 6 – 10 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ขอบใบเรียบ มีช่อดอกสีเหลืองอมชมพู อ่อน ออก เป็นช่อแบบซี่ร่ม ดอกย่อยมีกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันส่วนปลายแยก 5 แฉกกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ปลายกลีบ แยก เป็น 5 แฉก ดอกบานไม่พร้อมกันดอกอ่อนสีเขียว เมื่อบานเริ่มหอมตั้งแต่ช่วงบ่าย ดอกออกมากตั้งแต่ต้นฤดูหนาว
การปลูกและดูแลรักษา : ขจร เป็นไม้ที่ขึ้นได้ดีในดินทุกสภาพ แต่ถ้าจะให้ดีควรปลูกในดินร่วนปนทราย หรือดินที่มีความร่วนซุยมากๆ ขจรเป็นไม้ที่ชอบแดดจัดไม่ต้องการน้ำมากนัก และทนต่อสภาพความแห้งแล้งได้ดี ดังนั้นการรดน้ำให้รด 2 วันต่อครั้ง
สรรพคุณทางยาดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ลูกอ่อน บำรุงธาตุ บำรุงตับ ปอด แก้เสมหะเป็นพิษ ราก ทำให้อาเจียน ถอนพิษเบื่อเมา
ประโยชน์ทางอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอก ผลอ่อน รับประทานสดหรือลวกให้สุกรับประทานร่วมกับน้ำพริก ดอกนำไปปรุงอาหาร เช่น ผัด แกงจืด
แกงส้ม
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารดอกขจร : ยอดอ่อน ดอกตูมและบาน ผลอ่อน ยอดอ่อนและดอกขจรในปริมาณ 100 กรัม มีวิตามิน แร่ธาตุต่างๆ คือวิตามินเอ มากถึง 3,150 I.U. วิตามินซี 45 มิลลิกรัม แคลเซียม 70 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 90 มิลลิกรัม
ที่เห็นเป็นฝักของต้นขจร ในฝักจะมีเมล็ดสีดำแบน ๆ อัดแน่นอยู่ภายใน แต่ละเมล็ดจะมีปุยสีขาวเพื่อช่วยกระจายพันธุ์ เวลาฝักแก่จัดจะแตก ลมพัดปลิวไปกับลม ตงลงที่ที่เหมาะสมสำหรับการเกิดต้นใหม่ได้ก็จะงอก และเลื้อยเกาะพันไปกับกิ่งต้นไม้อื่น ๆ
ตอบลบ