ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

ต้นแต้ว


ชื่อพื้ื้นเมือง : ต้นแต้ว

วงศ์  : GUTTIFERAE

ชื่อวิทยาศาสตร์   : Gratoxylum formosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin

ประโยชน์ : ชาวไทยภาคกลางและชาวอีสานรับประทานผักแต้วเป็นผักโดยที่ชาวไทยภาคกลางรับประทานยอดแต้วอ่อน เป็นผักสดดอกแต้วมีรสเปรี้ยวนิดๆ ชาวอีสาน รับประทานยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกเป็นผักสดยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักที่ชาวอีสานนิยมรับประทานมากชนิดหนึ่งและมีจำหน่ายในท้องตลาดของท้องถิ่นอีสาน 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        ต้น จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา
       ใบ มนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ โตออกปลายสุดสอบเข้าเนื้อบาง หลังใบมีขน ส่วนท้องใบมีขนนุ่ม หนาแน่น
       ดอก ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ
       ผล รูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ชายดง ป่าโปร่ง เต็ง รัง ป่าตามเชิงเขา
ประโยชน์และความสำคัญ 
       ไม้เอาเผาถ่านให้ความร้อนดี ดีกว่า ไม้กะบก และขี้เถ้าน้อย ไม้ทำเสาทำด้ามเครื่องมือ   น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้ายอดนำมากิน เป็นผักกับอาหารหลายอย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น