ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ผักตำลึง


ชื่อสามัญ      ตำลึง(Ivy  Gourd)
ชื่ออื่นๆ           ผักแคบ  แคเด๊าะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Coccinia grandis (L.) Voigt
ชื่อพื้นเมือง    ตำลึงตัวเมีย ผักแคบ สี่บาท     
วงศ์             Cucurbitaceae
ถิ่นกำเนิด     เขตร้อนชื้น
ลักษณะพฤษศาสตร์     
ตำลึงเป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่และแข็ง เถาตำลึงจะมีลักษณะกลม สีเขียว ตามข้อมีหนวดเอาไว้ยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเล็กน้อย บางครั้งจะเว้ามาก ใบสีเขียวเรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น ดอกมีกลีบสีเขียว ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนตัดกันเป็นกรวย กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน ผลรูปร่างกลมรีคล้ายแตงแต่เล็กกว่า ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่สุกจัดมีสีแดง



ผักตำลึงขึ้นทั่วไปรอบบ้าน ต้นอ่อนต้องถอนทิ้งเนื่องจากขึ้นพันต้นไม้รกเต็มต้น  ถ้าปล่อยไว้ตำลึงสามารถคลุมต้นไม้ที่เราปลูกไว้ตายได้ ดังนั้นต้องจัดให้เขาขึ้นเป็นที่ ๆ ที่เห็นในรูปเพียงแค่ตัดเอากิ่งไม้ ที่ใช้เป็นกิ่งปีบในบ้าน ตัดลงมาแล้วนำไปวางจัดระเบียบให้ตำลึงเลื่อยขึ้นไปทอดยอด  เช้า ๆ ไม่มีอะไรทำก็เดินไปเก็บตำลึงเล่นสักหนึ่งกำมือ  แล้วก็มาวางไว้  ถ้าไม่ได้กินบะช่อหมูสับกับยอดตำลึงมื้อเช้าก็ได้กินก๋วยเตี๋ยวต้มยอดตำลึงมื้อกลางวัน  ปลูกไว้เก็บได้ทุกวันถ้าจะเก็บ ผลอ่อนเขียว ๆ ก็ใช้แกงกินได้  อร่อยเสียด้วย  สองวันที่แล้วไปช่วยงานเลี้ยงพระได้กินตำลึงดองกับน้ำพริก อร่อยดี  ส่วนลูกสุกแดง ๆ ปล่อยเป็นอาหารนก  นกจะกินแล้วบินไปถ่ายมูลไป ตกที่ตรงไหนขึ้นต้นใหม่่ที่ตรงนั้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น