ค้นหาบล็อกนี้

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ต้นโมกด่าง


ชื่ออื่นๆ :ปิดจงวา (เขมร) โมกบ้าน หลักป่า

ชื่อสามัญ :-
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Wrightia religiosa Benth. "variegata"
วงศ์ : Apocynaceae
ถิ่นกำเนิด :ประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป :นิยมปลูกเป็นไม้พุ่มเตี้ยขนาดเล็กสูงประมาณ 1.5 - 2 ม. เพื่อความสะดวกในการตัดแต่งทรงพุ่ม (หากปล่อยให้เจริญเติบโตตามธรรมชาติจะ
แตกกิ่งก้านสาขามากไม่ค่อยเป็นระเบียบ)
การขยายพันธุ์ :การเสียบยอด โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ
:การตอน ใช้เวลา 1.5 - 2 เดือนจึงออกราก และมีความจำเป็นที่ต้องใช้ฮอร์โมนช่วยเร่งการออกราก
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและปุ๋ยที่เหมาะสม
เป็นพันธุ์ไม้ที่มีใบด่างเหลืองสลับเขียวสวยงาม และมีดอกที่มีกลิ่นหอมเป็นผลพลอยได้
สามารถตัดแต่งให้เป็นรูปทรงต่างๆ ที่สวยงามตามต้องการได้ดีชนิดหนึ่ง
ใช้พื้นที่ในการปลูกน้อยมากเพียง 1 ตารางเมตร ก็สามารถปลูกพันธุ์ไม้ชนิดนี้ได้แล้ว
เป็นพันธุ์ไม้ที่เหมาะกับพื้นที่ที่เป็นที่โล่งแจ้ง เช่น ตามสนามหญ้าต่างๆ
มีอายุในการประดับได้นานหลายปีภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ในกรณีที่ไม่มีพื้นที่ก็สามารถปลูกในกระถางได้ดีชนิดหนึ่ง
ข้อแนะนำ :โมกซ้อนด่างเป็นพันธุ์ไม้ที่นิยมขยายพันธุ์โดยการเสียบยอด
โดยใช้โมกมันเป็นต้นตอ
หากพบยอดที่แตกใหม่มีใบสีเขียวควรเด็ดทิ้งทั้งหมด หากปล่อยไว้ กิ่งก้านที่ใบสีเขียวจะเจริญเติบโตได้รวดเร็วกว่ากิ่งก้านที่ใบด่างที่เรา ต้องการ และทำให้ส่วนใบด่างค่อยๆ ตายได้หากปล่อยไว้นานๆ
การตัดแต่งทรงพุ่มควรทำอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ทรงพุ่มแน่นสวยงาม
การตัดแต่งบ่อยๆ จะทำให้ใบของโมกซ้อนด่างมีขนาดเล็กลง แต่มีจำนวนใบเพิ่มมากขึ้น หากท่านพบอาการดังกล่าว ไม่ต้องตกใจ เพราะว่าลักษณะดังกล่าวเป็นลักษณะที่ต้องการโชว์ทรงพุ่ม สามารควบคุมทรงพุ่มให้สวยงามได้ง่ายในภายหลัง
รูปทรงที่นิยม ทรงกลมที่ปลายกิ่ง ทรงเหลี่ยม ใช้ประดับสวนและสนามหญ้าได้ดี
พันธุ์ไม้ในตระกูลนี้ส่วนใหญ่จะชอบพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วมขัง แต่ก็ยังต้องการน้ำในระดั
บกลางๆ ในฤดูแล้งควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง (รดน้ำพอชุ่ม)
ภายหลังการดูแลรักษาที่ดีจะพบว่า มีกิ่งขนาดใหญ่ทยอยแตกมาเป็นระยะๆ ควรรีบตัดออกทันที เพราะบริเวณทรงพุ่มที่มีกิ่งขนาดใหญ่แตกขึ้นมานั้นใบจะร่วงได้ง่าย และเมื่อมีการตัดแต่งภายหลังจากการที่เราปล่อยให้มีกิ่งขนาดใหญ่ไว้นาน จะทำให้บริเวณนั้นโปร่งและดูไม่สวยงาม
ในกรณีที่ต้องการจะเพิ่มเติมทรงพุ่มใหม่ ควรเหลือกิ่งให้น้อยที่สุดและดูแลให้อยู่ในรูปแบบเราต้องการตลอดเวลา จะทำให้ได้ทรงพุ่มใหม่เพิ่มขึ้นโดยไม่มีผลกระทบกับทรงพุ่มเดิ


1 ความคิดเห็น:

  1. ชอบค่ะ
    เพราะเป็นพืชที่แปลกตา
    มีดอกที่สวยงามน่าดู

    น.ส.สุริยาพร ช้างน้ำ ม.3/3 เลขที่ 36

    ตอบลบ