ค้นหาบล็อกนี้

วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

ชะพลู



ชะพลู หรือ ช้าพลู  (ชื่อวิทยาศาสตร์: Piper sarmentosum Roxb.) เป็นพืชในวงศ์ Piperaceae ใบรสไม่จัดเท่าพลูและมีขนาดเล็กกว่า ชะพลูมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือทางภาคเหนือเรียกว่า "ผักปูนา" "ผักพลูนก" "พลูลิง" "ปูลิง" "ปูลิงนก" ทางภาคกลาง เรียกว่า "ช้าพลู" ทางภาคอีสานเรียกว่า "ผักแค" "ผักปูลิง" "ผักนางเลิด" "ผักอีเลิด" และ ทางภาคใต้เรียกว่า "นมวา"
ชะพลูเป็นพรรณไม้ล้มลุกแบบเลื้อย ชอบขึ้นตามพื้นที่ลุ่มต่ำ ชื้นแฉะข้างลำธารในป่าดิบแล้ง และมีการนำมาปลูกตามบริเวณบ้านพบได้ในทุกจังหวัดของเมืองไทย ชะพลูแบบเถามีลำต้นสูงประมาณ 60 ซม.ลำต้นเป็นสีเขียว ใบเป็นรูปหัวใจ คล้ายใบพลูใบเล็กจะมีขนาน 3-4.5 ซม. กว้าง 2-3 ซม. ใบใหญ่จะมีขนาดกว้าง 15 ซม. ยาว 17 ซม. ก้านใบยาว 1-5 ซม. ใบมีรสเผ็ด ดอกเป็นช่อรูปทรงกระบอกสีขาวและค่อยๆเปลี่ยน เป็นสีเขียว ผลเป็นกลุ่ม  หน้าร้อนใบจะแห้งร่วงหลุดเหลือแต่ต้นหรือไหลใต้ดิน  พอฝนฤดูใหม่มาชะพลูจะแตกใบใหม่สวยงาม  เหมาะที่จะใช้ไปประกอบอาหาร ที่พบบ่อยที่สุดจะเป็นแกงหอยขมใส่ใบชะพลู  อีกอย่างหนึ่งคือใช้ห่อเมี่ยงคำ  หรือหั่นเป็นเส้นฝอยใส่ข้าวยำ
ปลูกง่ายตัดต้นไปปักชำ หรือเอาไหลส่วนที่มีรากไปปลูกก็ขึ้นแล้ว  ชอบความชุ่มชื้น  ต้องรดน้ำบ่อย ๆ จะให้ใบสวย ๆ
อย่างที่เห็นเพิ่งจะได้น้ำฝนเพียงสองวันแตกใบใหม่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น