อัญชันเป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม
ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5-7ใบ
กว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน
ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออก
เป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5-3.5
เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง
มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง
ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5-10 เมล็ด
ประโยชน์ของดอกอัญชัน
น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
อัญชันสรรพคุณใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
แก้อาการปัสสาวะพิการ
สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสดๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม
เมล็ดแก่สามารถนำไปปลูกได้
ฉันจะสร้างอาณาเขตแห่งเกษตรใบไม้ ฉันยังไม่เคยเห็นใครใส่ปุ๋ยให้ป่า ฉันไม่เคยเห็นใครพ่นยาฆ่าชีวิตให้ป่า I will build agricultural leaf boundary , who am I still never to see ? applies fertilizer to give the forest , who am I never to see ? blows a medicine kills the life gives the forest ,
ค้นหาบล็อกนี้
วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เห็ดโคนในบ้าน
คนทั่วไปต้องไปหาเห็ดโคนในป่า ตามภูเขา ต้องเดินทางค้นหาในป่า ไม่น่าเชื่อว่าบ้านเรา เห็ดโคน มาหาเราเอง เห็ดโคนเกิดขึ้นในรั้วบ้าน ที่ใช้ใบไม้เป็นปุ๋ย ไม่มีการใช้สารเคมีและเคมีฆ่าชีวิต และไม่มีการเผา แต่จะปล่อยให้ใบไม้ กิ่งไม้ ผุพังไปเองตามธรรมชาติ โดยมีปลวกเป็นตัวช่วยในการย่อยสลาย วัฏจักรของสิ่งมีชีวิตก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ ไม่ว่า เห็ดโคน เห็ดหูหนู เห็ดแครง เห็ดขอนขาว ก็พากันเกิดขึ้นตามวัฏจักรจริงๆ จึงต้องเชื่อว่าธรรมชาติสามารถสร้างขึ้นเองได้ หากคนเราแค่คอยช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย
ส่องไฟฉายเก็บตอนหนึ่งทุ่ม
ได้แค่นี้เท่าที่เห็น แต่พรุ่งนี้ น่าจะมีอีก
เห็ดโคน (ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Termitomyces fuliginosus Heim) เป็น เห็ดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Termitophilae เป็นเห็ดป่าเติบโตได้ดีในสภาพธรรมชาติ ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะ มีรูปร่างเหมือนเห็ดทั่วไปคือมีก้านเห็ดและหมวกเห็ด ดอกใหญ่ โคนอวบหนา มีกลิ่นเฉพาะตัว มักเกิดตามจอมปลวก จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เห็ดปลวก มีการอพยพของปลวกที่เราเรียกว่า แมลงเม่า ออกจากรังปลวกเดิม เพื่อสร้างรังใหม่ การที่ฝนตกชุกจนมีความชุ่มชื้นเหมาะสม เมื่อปลวกในรังปลวกมีปริมาณลดลง ตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ สามารถมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดที่มีความชุ่มชื้นออกมาได้
สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด ประกอบกับการที่เห็ดโคนเองมีรสชาติที่น่ารับประทาน จึงจัดเป็นเห็ดหายากจะต้องหาตามป่าเขาห่างไกลความเจริญ ซึ่งเห็ดโคนนั้นมีรสหวานอร่อยกว่าเห็ดอื่นๆ ปรุงง่ายเพียงต้มกับเกลือก็ได้น้ำต้มเห็ดรสหวานตามธรรมชาติ นอกจากนำไปต้มกับน้ำเกลือแล้วเราอาจนำเห็ดโคนไปประกอบอาหารที่หลากหลายได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบ ว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์ได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งมีวางขายเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมและจะมีให้รับประทานเพียงปีละ 1 ครั้ง พบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อพื้นที่ป่าค่อยๆ หมดไป เห็ดโคนจึงหายากและมีราคาแพง
ส่องไฟฉายเก็บตอนหนึ่งทุ่ม
ได้แค่นี้เท่าที่เห็น แต่พรุ่งนี้ น่าจะมีอีก
เห็ดโคน (ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Termitomyces fuliginosus Heim) เป็น เห็ดชนิดหนึ่งที่อยู่ในวงศ์ Termitophilae เป็นเห็ดป่าเติบโตได้ดีในสภาพธรรมชาติ ความชื้นและอุณหภูมิที่พอเหมาะ มีรูปร่างเหมือนเห็ดทั่วไปคือมีก้านเห็ดและหมวกเห็ด ดอกใหญ่ โคนอวบหนา มีกลิ่นเฉพาะตัว มักเกิดตามจอมปลวก จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เห็ดปลวก มีการอพยพของปลวกที่เราเรียกว่า แมลงเม่า ออกจากรังปลวกเดิม เพื่อสร้างรังใหม่ การที่ฝนตกชุกจนมีความชุ่มชื้นเหมาะสม เมื่อปลวกในรังปลวกมีปริมาณลดลง ตุ่มดอกเห็ดเล็กๆ สามารถมีโอกาสที่จะเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดที่มีความชุ่มชื้นออกมาได้
สามารถนำมาทำอาหารได้หลากหลายชนิด ประกอบกับการที่เห็ดโคนเองมีรสชาติที่น่ารับประทาน จึงจัดเป็นเห็ดหายากจะต้องหาตามป่าเขาห่างไกลความเจริญ ซึ่งเห็ดโคนนั้นมีรสหวานอร่อยกว่าเห็ดอื่นๆ ปรุงง่ายเพียงต้มกับเกลือก็ได้น้ำต้มเห็ดรสหวานตามธรรมชาติ นอกจากนำไปต้มกับน้ำเกลือแล้วเราอาจนำเห็ดโคนไปประกอบอาหารที่หลากหลายได้ นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณช่วยเจริญอาหาร บำรุงกำลัง แก้บิด แก้คลื่นไส้ อาเจียน แก้ไอ ละลายเสมหะ การทดลองทางเภสัชศาสตร์พบ ว่าน้ำที่สกัดจากเห็ดโคนสามารถยับยั้งเชื้อโรคบางชนิด เช่น เชื้อไทฟอยด์ได้ จึงเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งมีวางขายเฉพาะในฤดูฝนเท่านั้น ประมาณเดือนกันยายนถึงตุลาคมและจะมีให้รับประทานเพียงปีละ 1 ครั้ง พบมากในแถบจังหวัดกาญจนบุรี นครราชสีมา ราชบุรี และเพชรบุรี เมื่อพื้นที่ป่าค่อยๆ หมดไป เห็ดโคนจึงหายากและมีราคาแพง
วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
เห็ดหูหนูธรรมชาติ
ใน ธรรมชาติเห็ดหูหนูเจริญได้ดีในเขตร้อน โดยเฉพาะสภาพอากาศเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เห็ดหูหนูจะเจริญเติบโตบนขอนไม้ที่เริ่มเปื่อยผุพัง ชาวจีนนับว่าเป็นชาติแรกที่รู้จักวิธีการเพาะเห็ดหูหนูโดยการตัดไม้โอ๊กเป็น ท่อนๆ มาเพาะ แต่ประเทศไทยได้ทดลองเพาะเห็ดโดยการตัดไม้แคมากองสุมกันไว้ พอถึงฤดูฝนไม้จะเริ่มผุ และเห็ดหูหนูเกิดขึ้น เห็ดหูหนูเจริญเติบโตได้ดีในสภาพภูมิอากาศแทบทุกภูมิภาคของประเทศไทย ประกอบกับประเทศไทยมีวัสดุที่ใช้เพาะเห็ดหูหนูอย่างเหลือเฟือ เช่น ฟางข้าว ไม้เนื้ออ่อน ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ซังข้าวโพด
ชีววิทยาของเห็ดหูหนู
ชื่อสามัญ : Jelly mushroom
Subdivision : Basidiomycotina
Class : Hymenomycetes
Subclass : Phragmobasidiomycetidae
Order : Tulasnellales (jelly fungus)
Family : Auriulariaceae
Genus : Aauricularia
สำหรับชนิดบางจะถูกจัดไว้อีกสกุลหนึ่ง ส่วนเห็ดหูหนูขาว หรือ White jelly fungus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tremella fuciformis Berk. และถูกจัดไว้ในวงศ์ หรือ Family Tremellaceae
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ลักษณะดอกเห็ดมีเยื้อเป็นวุ้น (gelatinous structure) รูปร่างคล้ายหู (ear – shaped) บางพันธุ์จะมีขนละเอียดๆ ที่ผิวด้านล่างของดอก ก้านดอกสั้น หรือบางพันธุ์ก็ไม่มี ดอกเห็ดประกอบด้วย เส้นใยพวก binucleate hyphae ซึ่งมี dolipore septum และ clamp connection hymenium อยู่ด้านล่างของดอก basidium รูปทรงกระบอกมีผนังกั้นตามขวาง 3 อัน แบ่ง basidium ออกเป็น 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะสร้าง epibasidium ยืดยาวออกออกมาและส่วนปลายของ basidiospore รูปโค้งคล้ายไต ไม่มีสี basidiosporeของ A. auricular judae มีขนาด 5-6X10.45 – 12.5 ไมครอน และ A. polytricha 6.25×12.5 – 15 ไมครอน basidiospore เมื่อรวมกลุ่มกันมากๆ จะเห็นเป็นสีขาว
การพัฒนาของดอกเห็ดหูหนูบนท่อนไม้สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ : คือ
ระยะที่ 1 : primodial stage เป็นระยะที่เห็ดเริ่มสร้างดอกเห็ด จะเห็นจากใส่เชื้อบนท่อนไม้ 18 วัน มีลักษณะกลม สีม่วงจนถึงสีน้ำตาล ต่อมาอีก 4 – 5 วัน จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 : Small or thick – cup stage ดอกเห็ดระยะนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.7 เซนติเมตร จะมีการเรียงตัวของเนื้อเยื้อเหมือนกับดอกเห็ดที่โตเต็มที่แล้ว
ระยะที่ 3 : Thin cup stage ขอบของดอกขยายออกและเริ่มบาง มีสีน้ำตาลอ่อน การเจริญของขอบไม่เท่ากัน มีด้านหนึ่งเจริญมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 2 – 3.5 ซม. ดอกหนาประมาณ 1.3 มิลลิเมตร อาจพบกลุ่มของสปอร์สีขาวบนดอกเห็ด
ระยะที่ 4 : Expanded plain – edged stage ดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่หลังจากระยะที่ 3 ประมาณ 1 อาทิตย์
ระยะที่ 5 : Expanded, wavy – edged stage ระยะนี้ต่อจากระยะที่ 4 ต่างกันเฉพาะขอบของดอกเห็ดจะหยัก
** ระยะเวลาจากระยะ 1 ถึง 3 เห็ดเจริญช้า แต่จาก 4-5 จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว
ชีววิทยาของเห็ดหูหนู
ชื่อสามัญ : Jelly mushroom
Subdivision : Basidiomycotina
Class : Hymenomycetes
Subclass : Phragmobasidiomycetidae
Order : Tulasnellales (jelly fungus)
Family : Auriulariaceae
Genus : Aauricularia
สำหรับชนิดบางจะถูกจัดไว้อีกสกุลหนึ่ง ส่วนเห็ดหูหนูขาว หรือ White jelly fungus มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tremella fuciformis Berk. และถูกจัดไว้ในวงศ์ หรือ Family Tremellaceae
ลักษณะทางสัณฐานวิทยา
ลักษณะดอกเห็ดมีเยื้อเป็นวุ้น (gelatinous structure) รูปร่างคล้ายหู (ear – shaped) บางพันธุ์จะมีขนละเอียดๆ ที่ผิวด้านล่างของดอก ก้านดอกสั้น หรือบางพันธุ์ก็ไม่มี ดอกเห็ดประกอบด้วย เส้นใยพวก binucleate hyphae ซึ่งมี dolipore septum และ clamp connection hymenium อยู่ด้านล่างของดอก basidium รูปทรงกระบอกมีผนังกั้นตามขวาง 3 อัน แบ่ง basidium ออกเป็น 4 เซลล์ แต่ละเซลล์จะสร้าง epibasidium ยืดยาวออกออกมาและส่วนปลายของ basidiospore รูปโค้งคล้ายไต ไม่มีสี basidiosporeของ A. auricular judae มีขนาด 5-6X10.45 – 12.5 ไมครอน และ A. polytricha 6.25×12.5 – 15 ไมครอน basidiospore เมื่อรวมกลุ่มกันมากๆ จะเห็นเป็นสีขาว
การพัฒนาของดอกเห็ดหูหนูบนท่อนไม้สามารถแบ่งได้เป็น 5 ระยะ : คือ
ระยะที่ 1 : primodial stage เป็นระยะที่เห็ดเริ่มสร้างดอกเห็ด จะเห็นจากใส่เชื้อบนท่อนไม้ 18 วัน มีลักษณะกลม สีม่วงจนถึงสีน้ำตาล ต่อมาอีก 4 – 5 วัน จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 มิลลิเมตร
ระยะที่ 2 : Small or thick – cup stage ดอกเห็ดระยะนี้มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.7 เซนติเมตร จะมีการเรียงตัวของเนื้อเยื้อเหมือนกับดอกเห็ดที่โตเต็มที่แล้ว
ระยะที่ 3 : Thin cup stage ขอบของดอกขยายออกและเริ่มบาง มีสีน้ำตาลอ่อน การเจริญของขอบไม่เท่ากัน มีด้านหนึ่งเจริญมาก เส้นผ่านศูนย์กลางของดอกประมาณ 2 – 3.5 ซม. ดอกหนาประมาณ 1.3 มิลลิเมตร อาจพบกลุ่มของสปอร์สีขาวบนดอกเห็ด
ระยะที่ 4 : Expanded plain – edged stage ดอกเห็ดเจริญเติบโตเต็มที่หลังจากระยะที่ 3 ประมาณ 1 อาทิตย์
ระยะที่ 5 : Expanded, wavy – edged stage ระยะนี้ต่อจากระยะที่ 4 ต่างกันเฉพาะขอบของดอกเห็ดจะหยัก
** ระยะเวลาจากระยะ 1 ถึง 3 เห็ดเจริญช้า แต่จาก 4-5 จะเจริญได้อย่างรวดเร็ว
เช้านี้ได้เก็บเห็ดหูหนูในป่าบ้านเราเอง เกิดที่กองไม้ผุ เป็นไม้มะขามเทศที่ฟันลงมากองไว้ สองวันก่อนฝนตกหนัก เช้านี้เลยมีเห็ดให้เก็บ แสดงให้เห็นว่าสปอร์ของเห็ดในธรรมชาติมีทั่วไป ปลิวไปตกในสภาพที่เหมาะสมสามารถสร้า่งเยื่อใย จนถึงจุดที่เหมาะสมจริง ๆ ก็ผลิดอกออกมาให้เก็บกินได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)