ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กล้วยน้ำว้า




ชื่อสามัญ: Chinese banana
ชื่อท้องถิ่น: กล้วยน้ำว้า กล้วยใต้
ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก
ลักษณะทั่วไป: กล้วยน้ำว้ามีลักษณะต้นสูง 2.5-4 เมตร ลำต้นมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 18 เซนติเมตร กาบลำต้นเทียมด้านนอก
สีเขียวอ่อนมีประดำอยู่ทั่วไป ด้านในสีเขียวอ่อนกว่าสี สม่ำเสมอ ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีดอกกล้วยสีแดงอมม่วง เครือยาว
ขนาด 7-15 หวี หวีหนึ่งมี 10-16 ผล เมื่อดิบเปลือกผลสีเขียว สุกมีสีเหลือปนน้ำตาล เนื้อเหลืองอมขาว มีรสหวานแบ่งออก
เป็นสายพันธุ์ต่างๆ มีความแตกต่างกันเล็กน้อย
ประโยชน์: ให้คุณค่าอาหารสูง ใช้ทำอาหารได้หลายอย่าง
การขยายพันธุ์: แยกหน่อ เพาะเมล็ด เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
กาบใบ รวมเรียกว่าต้น หรือเรียกว่าหยวก ใช้ทำอาหารสัตว์ หมู ไก่ วัว เมื่อก่อนใช้ทำเชือกผูกมัดสิ่งของ เหนียวทนทาน ที่จำได้ใช้ผูกหูกระป๋องกาแฟ หรือโอวัลติน และผูกเนื้อหมูขาย แม่ค้าหมูสมัยก่อนจะห่อหมูด้วยใบกล้วย(ใบตอง) แล้วใช้เชือกกล้วยผูกตรงกลางให้คนซื้อหิ้วกลับบ้าน
ใบกล้วย เรียกใบตอง ใช้ห่อสิ่งของ ใช้ทั้งสดและแห้ง เช่นห่อขนมไทย นอกจากนั้นยังใช้ในการประดิษฐ์สิ่งของอื่น ๆ เช่น กระทงลอย ทำบายศรีอื่น ๆ อีกมากมาย
ดอกกล้วย เรียก หัวปลี ใช้ปรุงอาหาร เช่นยำหัวปลี ทำเป็นผักสด หรือลวกต้มก็ได้
ผลกล้วย ทั้งหมด เรียกเครือ ตัดแบ่งออกมาเป็นหวี และเรียกลูกว่าผล ใช้ทำอาหารคาวหวานได้หลายชนิด ทั้งดิบและสุก มีประโยชน์มาก เด็กสมัยก่อนต้องกินข้าวกับกล้วยน้ำว้าสุกย่างไฟบดกับข้าว แต่ปัจจุบันไม่เห็นแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น