ค้นหาบล็อกนี้

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

ผักขม


ชื่อ"ผักขม" 
วงศ์"AMARANTHACEAE" 
ชื่อวิทยาศาสตร์ "AmaranthusLividusLinn." 
ชื่อพื้นเมือง "ผักโขม(กลาง),ผักโหม,ผักหม(ใต้), 
ผักโหมเกลี้ยง(แม่ฮ่องสอน),กระเหม่อลอเตอ 
(กระเหรี่ยง,แม่ฮ่องสอน) 
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 
-ผักขมเป็นพืชล้มลุกปีเดียวลำต้นสีเขียวตรงแตกกิ่งก้านสาขามากใบเป็นใบเดี่ยวรูปไข่คล้ายสามเหลี่ยม ใบออกแบบสลับกว้าง 2.5-8 ซม.ยาว 3.5-12 ซม.ขอบใบเรียบดอกเป็นดอกช่อสีม่วงปนเขียวออกตามซอก ใบเมล็ดสีน้ำตาลเกือบดำ 
การปลูก 
ผักขมชอบดินร่วนซุยและชุ่มชื่นขึ้นใต้ร่มเงาขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

กระเพรา



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum sanctum L.
วงศ์ : Labiatae
ชื่ออื่น : กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขาว กะเพราแดง

ลักษณะ :
กะเพรามี 3 พันธุ์ คือ กะเพราแดง กะเพราขาวและกะเพราลูกผสมระหว่างกะเพราแดงและกะเพราขาว มีลักษณะทั่วไปคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่นและกิ่งก้านซึ่งมีขนปกคลุมมากกว่าใบกะเพราขาวสีเขียวอ่อน ส่วนใบกะเพราแดงสีเขียวแกมม่วงแดง ดอกย่อยสีชมพูแกมม่วง ดอกกะเพราแดงสีเข้มกว่ากะเพราขาว

ประโยชน์ทางสมุนไพร :
ตำรายาไทยใช้ใบหรือทั้งต้นเป็นยาขับลมแก้ปวดท้อง ท้องเสีย และคลื่นไส้อาเจียน นิยมใช้กะเพราแดงมากกว่ากะเพราขาว โดยใช้ยอดสด 1 กำมือ ต้มพอเดือด ดื่มเฉพาะส่วนน้ำ พบว่าฤทธิ์ขับลมเกิดจากน้ำมันหอมระเหย การทดลองในสัตว์ แสดงว่าน้ำสกัดทั้งต้นมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ สารสกัดแอลกอฮอล์สามารถรักษาแผลในกระเพาะอาหาร สาร eugenol ในใบมีฤทธิ์ขับน้ำดี ช่วยย่อยไขมันและลดอาการจุกเสียด

วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554

ผักตำลึง


ชื่อสามัญ      ตำลึง(Ivy  Gourd)
ชื่ออื่นๆ           ผักแคบ  แคเด๊าะ
ชื่อวิทยาศาสตร์    Coccinia grandis (L.) Voigt
ชื่อพื้นเมือง    ตำลึงตัวเมีย ผักแคบ สี่บาท     
วงศ์             Cucurbitaceae
ถิ่นกำเนิด     เขตร้อนชื้น
ลักษณะพฤษศาสตร์     
ตำลึงเป็นไม้เถาล้มลุกอายุหลายปี เถาแก่ของตำลึงจะใหญ่และแข็ง เถาตำลึงจะมีลักษณะกลม สีเขียว ตามข้อมีหนวดเอาไว้ยึดเกาะ ใบเป็นใบเดี่ยวออกแบบสลับ ใบรูปร่างคล้าย 5 เหลี่ยม ขอบใบเว้าเล็กน้อย บางครั้งจะเว้ามาก ใบสีเขียวเรียบไม่มีขน ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกจากบริเวณซอกใบ ดอกแยกเพศกันอยู่คนละต้น ดอกมีกลีบสีเขียว ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก โคนตัดกันเป็นกรวย กลีบดอกสีขาว เกสรตัวผู้มี 3 อัน เกสรตัวเมียมี 1 อัน ผลรูปร่างกลมรีคล้ายแตงแต่เล็กกว่า ผลดิบสีเขียว เมื่อแก่สุกจัดมีสีแดง



ผักตำลึงขึ้นทั่วไปรอบบ้าน ต้นอ่อนต้องถอนทิ้งเนื่องจากขึ้นพันต้นไม้รกเต็มต้น  ถ้าปล่อยไว้ตำลึงสามารถคลุมต้นไม้ที่เราปลูกไว้ตายได้ ดังนั้นต้องจัดให้เขาขึ้นเป็นที่ ๆ ที่เห็นในรูปเพียงแค่ตัดเอากิ่งไม้ ที่ใช้เป็นกิ่งปีบในบ้าน ตัดลงมาแล้วนำไปวางจัดระเบียบให้ตำลึงเลื่อยขึ้นไปทอดยอด  เช้า ๆ ไม่มีอะไรทำก็เดินไปเก็บตำลึงเล่นสักหนึ่งกำมือ  แล้วก็มาวางไว้  ถ้าไม่ได้กินบะช่อหมูสับกับยอดตำลึงมื้อเช้าก็ได้กินก๋วยเตี๋ยวต้มยอดตำลึงมื้อกลางวัน  ปลูกไว้เก็บได้ทุกวันถ้าจะเก็บ ผลอ่อนเขียว ๆ ก็ใช้แกงกินได้  อร่อยเสียด้วย  สองวันที่แล้วไปช่วยงานเลี้ยงพระได้กินตำลึงดองกับน้ำพริก อร่อยดี  ส่วนลูกสุกแดง ๆ ปล่อยเป็นอาหารนก  นกจะกินแล้วบินไปถ่ายมูลไป ตกที่ตรงไหนขึ้นต้นใหม่่ที่ตรงนั้น


ต้นปีบ



ชื่อพันธุ์ไม้ ปีบ
ชื่อสามัญ Cork Tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ Millingtonia hortensis Linn. F
วงศ์ BIGNONIACEAE
ชื่ออื่น กาซะลอง กาดสะลอง ( ภาคเหนือ) , เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) , ปีบ (ภาคกลาง)
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5- 20 เมตร ทรงพุ่มโปร่ง ใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่แกมใบหอกกว้าง 1.5- 2.5 ซม. ยาว 3- 5 ซม. ขอบใบหยักห่างๆ ดอก (Flower) เป็นดอกช่อ( inflorescence flower) แบบ panicle สีขาว กลิ่นหอม ออกรวมกันเป็น ช่อโตๆตามปลายกิ่ง แตกกิ่งก้านแผ่กว้าง แต่ละดอกมีรูปร่าง เป็นหลอดรูปแตรเรียวยาวถึง 6 ซ.ม. ปลายหลอดจะ แยกบานเป็น 5 แฉก แต่ละดอกจะมีเกสรผู้ 4 อันกับ หลอดท่อเกสรตัวเมีย 1 หลอด ยาวพ้นปากหลอดออก มาเล็กน้อย ตัวดอกห้อยลง ดอกจะบานในตอนกลางคืน พอเช้าดอกจะร่วงเกลื่อนใต้โคนต้น ฤดูดอก คือ ช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค.

ผล ( fruit) เป็นผลเดี่ยว( simple fruit) ประเภท ผลแห้ง( dry fruit) แบบ legume เป็นฝักแบน ตรง หัวแหลม ท้ายแหลม ขนาด กว้าง 2 ซ.ม.ยาว 30 ซม. เป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก
เมล็ด( Seed) รูปร่างแบนๆบาง ๆ สีขาวและมี ครีบเป็นปีก เพื่อประโยชน์ในการปลิวไปตามลมได้ไกลๆ ขนาดรวมทั้งปีกประมาณ 1.3 x 2.5 ซม.เมล็ดมีปีก ก็จะบินไปร่วงหล่นที่อื่น เพื่องอกเป็นต้นใหม่ต่อไป 

วันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2554

ดอกกระเจียว





ชื่อสามัญ  Siam Tulip , Patumma
ชื่อวิทยาศาสตร  Siam Tulip , Patumma
วงศ์  Patumma
สรรพคุณ : ดอกกระเจียวทานได้ ให้นำดอกอ่อนมาลวกจนสุกจิ้มกับน้ำพริก หรือจะกินดอกสดก็ได้ บางบ้านนิยมนำมาทำแกงส้ม หรือไม่ก็นำมาแกล้มกับขนมจีน ลาบ ก้อย ดอกกระเจียวมีรสเผ็ดร้อน และมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีสรรพคุณช่วยขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้มดลูกอักเสบสำหรับสตรีหลังคลอด


กระเจียวกอนี้แทงช่อดอกเร็วกว่ากำหนด  ปกติกระเจียวจะออกดอกหลังฝนเดือนหก  กอนี้ได้มาจากป่านำมาปลูกไว้หลายกอ พอต้นเก่าตาย ทิ้งให้พักตัวสักระยะ รดน้ำให้ ไม่กี่วันก็จะแทงช่อดอกออกมาให้เห็น หรือเก็บไปรับประทานได้  ต้นกระเจียวจะแทงช่อดอกออกมาก่อน  แล้วถึงขึ้นต้นมาทีหลัง และในต้นก็มีช่อดอกอีกเหมือนกัน  แต่ไม่นิยมกินกัน  เท่าที่เห็น หลังฝนตกชาวบ้านจะถือชะแลง เดินเข้าป่าขุดดอกกระเจียว ซึ่งกำลังจะโผล่พ้นดินบ้างยังไม่โผล่บ้าง บ้างก็หามากินเอง บ้างก็หามาขาย  แต่ปัจจุบันหายากมากขึ้น เนื่องจากพื้นที่ป่าถูกขุด ถาง ไถ ไปเป็นอย่างอื่นพืชพื้นเมืองในป่าก็หายไป ต้นนี้ที่ได้มาเนื่องจากขี่จักรยานไปเที่ยวป่า พบต้นกระเจียวถูกรถไถไปกองรวมกันไว้ เขย่าดินออกเก็บมาขุดหลุมฝังไว้ในบริเวณบ้าน  ออกดอกให้กินมา  2 ปีแล้ว กินสดก็ได้หรือจะต้มให้สุกทำเป็นผักจิ้มได้หลายประเภท


วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ต้มโครงหมูอ่อนกับยอดชะมวง


วันนี้ 16 เมษา  ต้องอยู่บ้านคนเดียว คนอื่นไปทำบุญบ้านย่า ทำอะไรกินดีหว่า เปิดตู้เย็นพบโครงหมูอ่อนแช่แข็งเป็ก ปิ้งไอเดียกับยอดชะมวงกำลังแตกเพสลาดพอดี  เอาซี่โครงหมูออกมาวางให้คลายแข็งลงหน่อยหยิบหม้อมาใส่น้ำตั้งไฟ รอจนน้ำเดือด  ระหว่างนั้นก็ไปเก็บยอดชะมวง จะว่าเก็บก็ไม่ถูกนัก ต้องใช้คำว่าตัด คือใช้กรรไกรเลือกตัดเอาครึ่งใบ ได้ยอดชะมวงมาน้ำเดือดพอดี
ตัดเอาสองส่วนในสามส่วน ที่ต้องตัดอย่างนี้เพราะเสียดายกิ่ง เนื่องจากต้นยังไม่โตมากนัก  จึงคงเหลือส่วนใบไว้เลี้ยงลำต้นต่อไป
น้ำเดือดดีแล้วเอาซี่โครงหมูลงต้ม


เติมเครื่องปรุงคือกระเทียมบุบ 5-6 กลีบ เกลือเม็ด 5-6 เม็ด ปิดฝาต้มไฟอ่อน 
เสร็จแล้วใส่ใบชะมวงลงไป ปิดฝาต้มต่อไปด้วยไฟอ่อน ๆ  แล้วชิมดูเติมน้ำตาลน้ำปลาตามชอบ
ก็จะได้โครงหมูอ่อนต้มกับใบชะมวง  เป็นกับข้าวสำหรับคนเดียวหนึ่งมื้อ หน้าตาอย่างที่เห็น น้ำลายสอเลยใช่ไหมละ


วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

ยอบ้าน


ชื่อ "ยอบ้าน"
วงศ์ "RUBIACEAE"
ชื่อวิทยาศาสตร์ "MorindaCitrifoliaLinn."
ชื่อพื้นเมือง "มะตาเสือ(เหนือ),ยอ,ยอบ้าน(กลาง),
แยใหญ่(กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),ยอ(อีสาน)"

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ยอบ้านเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ3-8เมตรเปลือกต้นเรียบแขนงมักเป็นสี่เหลี่ยม
ใบรูปรีกว้างติดแบบตรงกันข้ามโคนใบและปลายใบแหลมขนาดกว้าง6-17ซม.ยาว15-30ซม.เนื้อใบ
สีเขียวและเป็นมันหูใบอยู่ระหว่างโคนก้านใบมีรูปร่างและขนาดต่างๆดอกออกรวมกันเป็นช่อกลมมีก้าน
ช่อยาว3-4ซม.ดอกมีขนาดเล็กและสีขาวเมื่อเจริญเป็นผลทำให้ผลมีลักษณะค่อนข้างกลมหรือทรง
กระบอกมนและมีตารอบผลสีเขียวพอแก่จัดเป็นสีขาวและมีกลิ่นเหม็นผลมีขนาด3-10ซม.ภายในมีเมล็ด
สีน้ำตาลเข้มจำนวนมาก 

ปลูกเพื่อเก็บใบขายได้อย่างดีชนิดหนึ่ง เนื่องจากปลูกง่าย เก็บใบขายร้านทำห่อหมก หรือใช้แกงกับปลาดุกทะเล ใส่น้ำขลุกขลิก เหมือนห่อหมกอย่างไงอย่างงั้นเลย แล้วจะลงขั้นตอนให้อ่านกันภายหลัง

ต้นเหลียง


             ใบเหลียง ยอดเหลียงก็เรียก  เป็นผักพื้นบ้านตั้งแตชุมพรลงไป ปัจจุบันเป็นผักรับแขกไปแล้ว ไปงานศพบ้านไหนต้องมีน้ำพริกยอดเหลียงรับแขกทุกบ้าน กลายเป็นพืชเศรษฐกิจไปในตัว  เนื่องจากปัจจุบันมีการปลูกกันเป็นอาชีพ  สามารถเก็บยอดขายได้ทุกวัน ปลูกครั้งเดียวเก็บ ได้ทุกวัน เพราะจะแทงไหลขึ้นต้นใหม่ไปเรื่อย ๆ เพิ่มปริมาณจนเต็มพื้นที่ เป็นพืชที่ไม่ต้องการความดูแลมากนัก ไม่มีแมลงรบกวน  กินใบเหลียงจึงมั่นใจได้ว่าปลอดสารฆ่าแมลง  ยกเว้้นสารปนเปื้อนจากแม่ค้า เพื่อรักษาความเขียวสด ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด ง่ายสุดลากน้ำร้อนกินกับขนมจีน  หรือต้มเคยต้มเกลือเติมน้ำตาลนิดเดียวแค่นี้ก็พาข้าวลงคอจนอิ่มไม่รู้ตัว อย่างอื่นก็ผัดกับไข่  อร่อยสุดยอดเหลียงต้มจิ้มน้ำปริก


มะยม










ชื่อท้องถิ่น









มะยม (ทั่วไป), ยม (ภาคใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Phyllanthus acidus skeels
วงศ์
EUPHORBIACEAE
ลักษณะ
เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูง 3 - 5 เมตร เปลือกมีผิวขรุขระ กิ่งก้านเปราะหักง่าย ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อยรูปรี ใบอ่อนสีเขียวเรื่อแดง ดอกแยกเพศอยู่คนละต้น ต้นเพศผู้ออกดอกแล้วไม่ค่อยติดผล ส่วนต้นเพศเมียออกดอกแล้วติดผลมาก ดอกขนาดเล็กจะออกเป็นช่อตามกิ่งไม่มีกลีบดอก มีแต่กลีบเลี้ยงสีชมพู 4 กลีบ ผลรูปค่อนข้างกลม มี 5 - 6 พู ผลอ่อนสีเขียว เมื่อแก่สีเหลืองมีชนิดเปรี้ยวและหวานอมเปรี้ยว  

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

ส่วนที่นำมาเป็นยา

ราก ผลแก่ ใบแก่ แก่น เปลือกต้น

สารเคมีและสาร
อาหารที่สำคัญ

วิตามินซี วิตามินบี 2 วิตามินบี 1 เบต้าแคโรทีน เหล็ก ฟอสฟอรัส แคลเซียม คาร์โบไฮเดรท โปรตีน พลังงาน

สรรพคุณทางยา
และวิธีใช้

  แก้ผดผื่นคัน : ใช้ราก 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือด 5 - 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่น ใช้แช่อาบ ควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าว ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง
 ยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ : ใช้ผลแก่ ดองในน้ำเชื่อม (น้ำสะอาด 1 ลิตร ต่อน้ำตาลทราย 3 กิโลกรัม) ดองจนครบ 3 วัน ทยอยกินทั้งเนื้อและน้ำวันละ 1 ช้อนโต๊ะไปเรื่อย ๆ
     ปวดศรีษะจากความดันโลหิตสูง : ใบแก่ พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา เติมน้ำตาลกรวดพอหวาน ต้มให้เดือดนาน 5 - 10 นาที เมื่อดื่มแล้ววัดความดันควบคู่ไปด้วย ถ้าความดันกลับสู่ระดับปกติควรหยุดกิน
   ยาอดบุหรี่ : แก่น ชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น ต้มกับน้ำ 1 แก้ว นาน 5 นาที ดื่มให้หมด วันละ 1 แก้ว
    แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ : นำเปลือกสด ๆ ของลำต้น มาต้มรับประทาน

ข้อควรรู้และควรระวัง

รากมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยตำผสมกับอาหาร ถ้าคนกินจะเกิดอาการเมาและอาเจียนได้



ต้นแต้ว


ชื่อพื้ื้นเมือง : ต้นแต้ว

วงศ์  : GUTTIFERAE

ชื่อวิทยาศาสตร์   : Gratoxylum formosum(Jack) Dyer ssp.pruniflorum(Kurz.) Gogelin

ประโยชน์ : ชาวไทยภาคกลางและชาวอีสานรับประทานผักแต้วเป็นผักโดยที่ชาวไทยภาคกลางรับประทานยอดแต้วอ่อน เป็นผักสดดอกแต้วมีรสเปรี้ยวนิดๆ ชาวอีสาน รับประทานยอดอ่อนใบอ่อนและช่อดอกเป็นผักสดยอดอ่อนและดอกอ่อนเป็นผักที่ชาวอีสานนิยมรับประทานมากชนิดหนึ่งและมีจำหน่ายในท้องตลาดของท้องถิ่นอีสาน 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์        ต้น จัดเป็นไม้ยืนต้นที่มีขนาดเล็กถึงขนาดกลาง มีความสูง 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม กิ่งอ่อนมีขนนุ่มทั่วไป เปลือกสีน้ำตาลไหม้ แตกเป็นสะเก็ด เปลือกในสีน้ำตาลแกมเหลือง และมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมา
       ใบ มนแกมรูปไข่กลับ และรูปขอบขนาน กว้าง 2-5 ซม. ยาว 3-13 ซม. ออกเป็นคู่ๆ ตรงกันข้าม โคนสอบเรียวส่วนที่ค่อนไปทางปลายใบ โตออกปลายสุดสอบเข้าเนื้อบาง หลังใบมีขน ส่วนท้องใบมีขนนุ่ม หนาแน่น
       ดอก ดอกสีชมพูอ่อน ถึงสีแดง กลิ่นหอมอ่อนๆ
       ผล รูปร่างรีขนาดกว้าง 1 ซม. ยาว 2 ซม. หรือย่อมกว่าเล็กน้อย มีนวลขาวติดตามผิว เมื่อแก่จัดออกเป็นสามแฉก เมล็ดสีน้ำตาล
แหล่งที่พบ ชายดง ป่าโปร่ง เต็ง รัง ป่าตามเชิงเขา
ประโยชน์และความสำคัญ 
       ไม้เอาเผาถ่านให้ความร้อนดี ดีกว่า ไม้กะบก และขี้เถ้าน้อย ไม้ทำเสาทำด้ามเครื่องมือ   น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้ายอดนำมากิน เป็นผักกับอาหารหลายอย่าง

เล็บมือนาง


เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์: Quisqualis indica L.

ชื่อสามัญ: Chinese honey Suckle, Rangoon Creeper, Drunken Sailor
ชื่ออื่น: จะมั่ง จ๊ามั่ง มะจีมั่ง (ภาคเหนือ), อะดอนิ่ง (มลายู-ยะลา), ไท้หม่อง (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

วงศ์: COMBRETACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:
      ไม้เถาขนาดกลาง ลำต้นค่อนข้างแข็ง แตกกิ่งก้านหนาทึบ ลำต้นหรือกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุม แต่ต้นที่แก่ผิวจะเกลี้ยง หรือบางทีก็มีหนาม ต้องมีหลักยืดหรือร้านให้ลำเถาเกาะยึด

     ใบ
ใบเรียงตรงข้าม ใบเดี่ยว รูปใบหอกหรือใบมนแกมขอบขนาน กว้าง 2.5-3.5 ซม. ยาว 10-15 ซม. ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบมนหรือกลม ขอบใบเรียบ เนื้อใบบาง ใบสีเขียว ท้องใบมีขนปกคลุมจำนวนมาก


     ดอก ดอกช่อ ออกตามปลายกิ่งหรือตามซอกใบ กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นหลอดเล็ก ปลายแหลมมี 5 กลีบ โคนกลีบดอกเื่ชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปทรงกระบอกยาว ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อดอกย่อยบานมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ซม. มีทั้งดอกลาและดอกซ้อน ช่อดอกเมื่อเริ่มบานมีสีขาวหรือสีชมพูอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่สีชมพูเข้ม ดอกย่อยทยอยบาน เมื่อใกล้โรยเปลี่ยนเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมแรง โคนกลีบดอกมีใบประดับ

วันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2554

สับปะรดสวี



สับปะรด (ชื่อทางวิทยาศาตร์: Ananas comosus) เป็นพืชล้มลุกชนิดหนึ่งที่มีต้นกำเนิดมาจากแถวๆ ทวีปอเมริกาใต้ ลำต้นมีขนาดสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร การปลูกก็สามารถปลูกได้ง่ายโดยการใช้หน่อหรือที่เป็นส่วนยอดของผลที่เรียก ว่า จุก มาฝังกลบดินไว้ และออกเป็นผล เปลือกของผลสับปะรดภายนอกมีลักษณะคล้ายตาล้อมรอบผล 
                สับปะรดสวี ไม่ได้ปลูกกันเป็นไร่ ๆ เหมือนสับปะรดทั่วไป  แต่จะปลูกเป็นพืชแซมไว้ในสวนมะพร้าว  สามารถแตกกอเป็นกอใหญ่  มีผลหลาย ๆ ผล ในหนึ่งกอ  ปลูกครั้งเดียวเก็บผลได้ตลอดไป ถ้าต้องการเพิ่มพื้นที่ปลูกก็แยกหน่อหรือจุกที่ผลไปปลูก   ปลูกแล้วไม่จำเป็นต้องรดน้ำใส่ปุ๋ย  ปลูกให้เทวดาเลี้ยง เจ้าของเพียงแต่เดินไปเก็บผลเอามารับประทานหรือขาย ถ้าช่วยบำรุงสักหน่อยคือช่วยตัดเอาเถาวัลย์ออกให้บ้างเพื่อไม่ให้รกจนเกินไป   สับปะรดมีศัตรูที่สำคัญคือ หนู และกระแต จะมาเจาะกินก่อนเจ้าของเห็น
                ต้นนี้ปลูกด้วยจุกที่ติดกับผลมาปลูก ปลูกได้ครบปีแล้วยังไม่เห็นเปลี่ยนแปลงตรงไหนเลย เพียงแต่ต้นโตขึ้น ต้องรอดูว่าจะออกดอกติดผลได้หรือไม่  เนื่องจากเป็นไม้ต่างถิ่น

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ต้น เสม็ดชุน




ชื่อวิทยาศาสตร์ Syzygium gratum (Wight) S.N. Mitra var. gratum
ชื่อพื้นเมือง ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา); ไคร้เม็ด (เชียงใหม่); เม็ก
(ปราจีนบุรี); เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช); เสม็ด (สกลนคร, สตูล);
เสม็ดเขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง); ยีมือแล
(มลายูภาคใต้)
ชื่อวงศ์ MYRTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เสม็ดชุนเป็นไม้พุ่มต้น ไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน
ใบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
ดอก ดอกออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือนมีนาคม - เมษายน
ผล ผลกลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน
แหล่งที่พบ ป่าดิบแล้ง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ชอบแสงแดดรำไร ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด มักพบอยู่ตามริมลำห้วย
ฤดูกาลใช้ประโยชน์
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ
รส เปรี้ยว
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด

เล็บรอก (เล็บเราะ)



เล็บรอก
ชื่ออื่น : เล็กลอก, เครืองูเห่า, ผักแปมป่า (เหนือ) 
  
ชื่อสามัญ : Wild Orange-Tree, Lopea Tree, Forest-Pepper

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Toddalia asiatica (Linn.) Lamk., T. asuleata Pers. 

ชื่อวงศ์ :  RUTACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้เถาขนาดใหญ่กิ่งก้านเล็กเรียว เถาแก่มีปุ่มของนมหนามติดอยู่ทั่วไป  ผิวสีน้ำตาลมีกระสีขาวเนื้อสีเหลือง เถาอ่อนมีหนามแหลมงุ้ม ใบประกอบแบบนิ้วมือ 3 ใบ ใบย่อยรูปไข่ปลายสอบ มีจุดน้ำมันกระจายทั่วใบ ยาว 5-10 ซม. มีกลิ่นคล้ายการบูร และตะไคร้ ดอกสีเหลืองแกมเขียวเป็นช่อที่ปลายกิ่งและง่ามใบ  ผลกลมฉ่ำน้ำ เมื่อสุกสีส้ม มีกลิ่นคล้ายพริกไทย  ใช้แต่งกลิ่นอาหาร  เกิดตามป่าในเขตร้อนทั่วไป  ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
ใบ ยอดอ่อน และผล ซึ่งเกิดเป็นช่อ ใช้เป็นผัก รับประทานกับข้าวหรือขนมจีน

วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2554

ไผ่เลี้ยง Bamboos

ไผ่ต้นนี้ได้มาเมื่อตอนไปเยี่ยมเพื่อน ๆ ตอนถูกพายุเกย์ ปี2531  กระหน่ำประจวบ และชุมพร เดินผ่านสวนเห็นกอไผ่อะไรลำใหญ่ ยาว(สูง) สวยมาก  จึงออกปากขอเจ้าของสักต้น  ตัดเอาสูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซ็น แล้วขุดเอาส่วนรากที่อยู่ใต้ดินมีรากติดมาเล็กน้อย จำได้ว่าแบกขึ้นรถเมล์มา ขุดหลุมปลูกไว้ข้างรั้ว จนใครหลายคนผ่านบ้านมาขอไปปลูกหลายคนแล้ว เนื่องจากลำใหญ่ ยาว ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นทำแคร่นั่งๆ นอน ๆ ทำบันได ทำไม้สอยมะม่วง และอื่น ๆ อีกมากมาย  นึกจะทำอะไรก็ตัดเอา กิ่งแขนงใช้ทำค้างถั่ว ค้างบวบ ไม่ค้องไปหาที่ไหน  หน่ออ่อนเก็บใช้ทำอาหารกินได้  ต้มกระดูกหมูใส่หน่อไผ่เลี้ยง  ให้ต้มหมูไว้ก่อนได้เลย  แล้วเดินไปเก็บหน่อไผ่เลี้ยง ปอกเปลือก หั่นใส่หม้อต้มได้เลย  ไม่ขม  หวานดีอีกต่างหาก  ปลูกไผ่กอเดียวประโยชน์มากมายจริง ๆ

ไผ่เลี้ยง Bamboos
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch.
ชื่อวงศ์ : Gramineae
ชื่อสามัญ : Hedge bamboo
ชื่อพื้นเมือง : ไผ่สร้าง ไผ่เชียงไพร ไผ่สร้างไพร เพ็ก
ชนิดพืช [Plant Type] : ไม้พุ่ม
ขนาด [Size] : สูงได้ถึง 15 เมตร
สีดอก [Flower Color] : -
ฤดูที่ดอกบาน [Bloom Time] : -
อัตราการเจริญเติบโต [Growth Rate] : เร็ว
ลักษณะนิสัย [Habitat] : ขึ้นได้ในดินทั่วไป
ความชื้น [Moisture] : ปานกลาง-สูง
แสง [Light] : แดดเต็มวัน
ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : พืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอก
กลวง ขนาด 1- 4.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียว ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีช้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องยาว 20- 30
เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ 2 แถว ใบรูปหอก กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-15 เซนติเมตร
ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบคม แผ่นใบสีเขียว มีกาบหุ้มลำต้น หนาแช็งไม่แนบชิดลำต้น
หลุดร่วงไปเมื่อแก่ ยอดกาบหนาแข็งมักมีขนคายทางด้านในมีติ่งกาบเห็นชัดเจน ตอนปลายกาบตรงที่
ต่อกับใบจะมีลิ้นใบ
ดอก (Flower) : -
ผล (Fruit) : -
การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกเป็นฉากหลัง บังสายตา เป็นแนวรั้ว กันลม
ปลูกตามแนวทางเดินหรือถนนขนาดเล็กในสวนสาธารณะหรือรีสอร์ท
ประโยชน์ : ใช้ทำกระดาษ ทำเครื่องจักสานทำบันได โป๊ะ แม่บันได และทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อนำมาปรุงอาหาร
ได้หลายวิธี เช่น นำมาแกง ต้ม ผัดและดองใส่น้ำพริก ยำหน่อไม้ ลำต้นเรียวเหมาะสำหรับทำคันเบ็ดได้













การดองหน่อไม้ไว้กินเอง
































สายหยุด หรือส่าเหล้า


สายหยุดหรือส่าเหล้าแล้วแต่จะเรียก เพิ่งจะได้น้ำใหม่แตกใบอ่อนสวยงามมาก  แทงช่อดอกทุกข้อเลย อีกสองสามวันดอกบานแล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูว่าดอกดกขนาดไหน ตะวันตกดินเริ่มส่งกลิ่นหอมไปไกล หอมสดชื่นมาก แต่เสียดายบานวันเดียวร่วง  วันต่อไปดอกรุ่นใหม่บานแทน  หอมถึงตอนเช้า รีบตื่นแต่เช้ามารับกลิ่นหอมของดอกสายหยุด  เพราะสาย ๆ หน่อยก็จะหยุดหอมไปเลย เด็ดออกจากต้นก็จะเหี่ยวง่าย กลีบดอกบอบบาง ปล่อยไว้ที่ต้นให้ร่วงหล่นลงพื้น  เคยเก็บมารวมกองจัดเป็นดอกใหม่ก็สวยดี  แล้วจะถ่ายรูปมาให้ดูเมื่อดอกบานเต็มต้น

สายหยุด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmos chinensis Lour.
วงศ์     :   ANNONACEAE
ชื่ออื่น  :   กล้วยเครือ (สระบุรี) เครือเขาแกลบ (เลย) สาวหยุด (กลาง ใต้) เสลาเพชร (สุราษฎร์ธานี)
สายหยุดเป็นไม้พุ่มรอเลื้อย สามารถปลูกเป็นไม้เลื้อยขึ้นซุ้ม หรือปลูกเป็นทรงพุ่ม ช่วงแรกที่ต้นยังเล็กจะต้องมีไม้ยึดลำต้น เมื่อต้นโตแล้วสามารถตัดแต่งทรงพุ่มได้ 
ดอกมีกลิ่นหอม นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ดอกของสายหยุดเป็นดอกเดี่ยวสีเหลืองออกดอกบริเวณตรงข้ามใบใกล้ปลายกิ่ง ดอกเป็นดอกห้อย มีกลีบดอก 6 กลีบ ดอกอ่อนจะมีสีเขียว เมื่อบานจะมีสีเหลืองหรือสีเหลืองส้ม สายหยุดออกดอกได้ตลอดทั้งปี แต่ดอกจะดอกมากเป็นพิเศษในช่วงฤดูฝน ดอกจะส่งกลิ่นหอมตั้งแต่ช่วงเย็น จะหอมมากในตอนกลางคืน และหยุดส่งกลิ่นหอมในช่วงสาย 
ขยายพันธุ์ได้โดยการเพาะเมล็ดและตอนกิ่ง ชอบดินที่มีความชุ่มชื้นระบายน้ำได้ดี และชอบอยู่ในที่ร่มรำไร นอกจากนี้ยังพบว่าหากมีการตัดแต่งกิ่งสาหยุดจะแตกกิ่งใหม่และให้ดอกที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเดิม

มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น กล้วยเครือ, เครือเขาแกลบ, สาวหยุด, เสลาเพชร
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้รอเลื้อยหรือไม้พุ่ม ซึ่งสามารถเลื้อยเกาะไม้อื่นได้ไกล มักแตกกิ่งก้านสาขาที่ส่วนยอด และแผ่กิ่งก้านออกไปรอบๆ เป็นบริเวณกว้าง กิ่งอ่อนสีน้ำตาลมีขนปกคลุม เมื่อแก่จะมีสีดำเป็นมัน ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีแกมรูปหอก เรียงสลับ ผิวใบสีเขียวเข้มเป็นมัน มีใบดก
ส่วนดอกจะออกตามซอกใบห้อยย้อย เป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก 5-6 กลีบ แต่ละกลีบจะบิดงอ กลีบรองดอกสั้น เกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่บนฐานกลางดอก เมื่อดอกอ่อนเป็นสีเขียว พอแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ออกดอกตลอดปี และยิ่งต้นที่มีอายุมากก็จะยิ่งออกดอกมาก และขนาดของดอกก็จะใหญ่ขึ้นและมีสีเหลืองเข้มขึ้นด้วย ดอกสายหยุดจะเริ่มส่งกลิ่นหอมจัดในยามรุ่งอรุณ และกลิ่นจะค่อยๆ จางลงจนหมดกลิ่นในยามเที่ยงวัน 

สำหรับผลนั้นเป็นผลสดมีเนื้อจะออกรวมเป็นกลุ่ม เป็นผลย่อยกลมรี มีส่วนคอดเป็นข้อๆ คล้ายลูกประคำ ผลอ่อนมีสีเขียว และเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อแก่ จนกระทั่งเป็นสีดำเมื่อสุก ภายในมีเมล็ดกลม ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
โดยทั่วไปมักจะปลูกสายหยุดเป็นซุ้มใกล้รั้วบ้าน เพราะเป็นไม้ประดับที่มีกลิ่นหอม และสามารถ ตกแต่งให้เป็นซุ้มตามต้องการได้ ในด้านของสรรพคุณพืชสมุนไพรนั้น จะใช้ดอกสกัดทำน้ำมันหอมระเหย บำรุงหัวใจ ส่วนต้นและรากใช้รักษาอาการติดยาเสพติด รากใช้แก้อาการท้องเสีย